การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะครูประถมศึกษา ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะครูระดับประถมศึกษา ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลสมรรถนะครูระดับประถมศึกษา ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ (In-depth Interview) จำนวน 19 คน เรื่อง สมรรถนะครูประถมศึกษา ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับกลุ่มผู้บริหารและครูโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง เพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์องค์ประกอบ 3) แบบสอบถามการวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะครูประถมศึกษา ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครอบคลุม 3 องค์ประกอบ คือ ด้านความรู้ทางวิชาการ ด้านคุณลักษณะที่อยู่ในตัวบุคคล และด้านทักษะในการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนที่สอนโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 397 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง วิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะครูประถมศึกษา ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ค่าสถิติค่าไค-สแควร์ (chi-square statistics) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือมาตรฐาน (SRMR) และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA)
ผลการวิจัย พบว่า
- ผลการศึกษาสมรรถนะครูประถมศึกษา ในภาคตะวันออก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พบว่า โดยภาพรวมและแยกเป็นรายด้าน มีสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก
- ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองของโมเดลองค์ประกอบสมรรถนะครูประถมศึกษาในภาค
ตะวันออกสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้แก่ ค่าไคสแควร์มีค่าเท่ากับ 20.52 องศาอิสระ เท่ากับ 13 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์มีค่า 1.58 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 2 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.96 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00 ซึ่งมากกว่า 0.90 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ 0.011 และ ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.038 ซึ่งน้อยกว่า 0.05
Article Details
References
2. พศิน แตงจวง (2554) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
3. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551) รายงานการวิจัยเรื่อง สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : พริกหวาน
4. มยุรฉัตร ธรรมวิเศษ (2554) องค์ประกอบทางจริยธรรม. (ออนไลน์) . แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/198176.6 พฤศจิกายน 2557
5. วนิดา ภูวนารถนุรักษ์ (2551) สมรรถนะของครูไทย. วารสารรามคำแหง. 26(1).
6. วาสนา แสงงาม (2552) สมรรถนะการสอนที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3-4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
7.วิทยา เชียงกูล (2552) จิตวิทยาวัยรุ่น : ก้าวข้ามปัญหาและพัฒนาศักยภาพด้านบวก. กรุงเทพฯ : สายธาร
8. ศรีวรรณ สงวนทรัพย์ (2546) บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนของครูตามความคิดเห็นของครูโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ บริหารการศึกษา.สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
9. ศิริชัย กาญจนวาสี (2550) การวิเคราะห์พหุระดับ : Multi-level Analysis. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
10.สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2556) การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21. 3 (8) (สิงหาคม): http://www.addkutec3.com
11.สมนึก ภัททิยธานี. (2555) การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.5 สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553) คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง) โครงการยกระดับคุณภาพทั้งระบบ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.