การปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา ของเยาวชนในภาคตะวันออก

Main Article Content

บุญรอด บุญเกิด
พัชรินทร์ รุจิรานุกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก จำแนกตามสถานภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จังหวัดละ 400 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 จังหวัด จำนวน 1,600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .37-.80 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) โดยหาค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเปรียบเทียบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีการของ LSD ผลการวิจัยพบว่า


  1. การปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.18, SD=.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง 6 ด้าน เรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความกตัญญูกตเวที (gif.latex?\bar{x}=4.46, SD=.51) ความมีระเบียบวินัย (gif.latex?\bar{x}=4.34, SD=.58) ความเป็นผู้ว่าง่าย (gif.latex?\bar{x}=4.21, SD=.51) ความเมตตากรุณา (gif.latex?\bar{x}=4.19, SD=.60) ความขยันหมั่นเพียร (gif.latex?\bar{x}=4.10, SD=.61) และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (gif.latex?\bar{x}=3.81, SD=.70)

  2. เปรียบเทียบการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนในภาคตะวันออก พบว่า เมื่อจำแนกตามเพศ โดยรวมเยาวชนเพศชายและเพศหญิงมีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามเกรดเฉลี่ย โดยรวมเยาวชนที่มีเกรดเฉลี่ยต่างกันมีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามระดับชั้นที่ศึกษา โดยรวมเยาวชนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและเยาวชนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามภูมิลำเนา โดยรวมเยาวชนที่มีภูมิลำเนาต่างกันมีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อจำแนกตามสถานภาพการอยู่อาศัย โดยรวมเยาวชนที่มีสถานภาพการอยู่อาศัยต่างกันมีการปฏิบัติตนด้านคุณธรรมจริยธรรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กนก จันทรา และคณะ. (2559). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม หน้าที่พลเมืองชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
2. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2553). จริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
3. กลัญญู เพชราภรณ์. (2562). เอกสารประกอบการสอน วิชาจิตวิทยาครูสำหรับการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (ENN3202). [Online] เข้าถึงได้จาก http://www.eledu.ssru.ac.th/kalanyoo_pe/file.php/4/_2_.pdf.
4. คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง. (2550). วิชาพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม1 ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
5. ดาวเรือง แก้วขันตี สุณี ผลดีเยี่ยม และพวงทอง ผู้กฤตยาคามี. (2547). สภาวะสังคมไทยและภาพคนไทย ปี พ.ศ. 2563. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 9(1-2), 95.
6. ธนวัน สายเนตร และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ด้านคุณธรรม ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ตามนโยบายโครงการโรงเรียนคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7 (เพิ่มเติม), 365.
7. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์. (2541). วิเคราะห์ปัญหาสำคัญในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
8. บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 3(1), 23-24.
9. บุญรอด บุญเกิด. (2555). การรับรู้ตนเองด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการนำจริยธรรมสู่ชุมชนของพระสงฆ์จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 20(34), 61-74.
10. สุพัตรา สุภาพ. (2544). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
11. อมร โสภณวิเชษฐ์วงศ์ และกวี อิศริวรรณ. (2536). พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.
12. Best and Kahn James V. (1993). Research in Education. (7th ed). Boston: Allyn and Bacon.
13. Cronbach, L.J. (1990). Essential of Psychological testing. (5th ed). New York: Haper Collins.