ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้เผยแพร่ภาพอนาจารส่วนตัวของผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอม

Main Article Content

ณัฐพันธุ์ เบ็ญขันธ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้เผยแพร่ภาพอนาจารส่วนตัวของผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างสื่อลามกอนาจารทั่วไปกับภาพอนาจารส่วนตัว และเพื่อชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาการบังคับใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับการเผยแพร่สื่อลามกอนาจารที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันกับการเผยแพร่ภาพอนาจารส่วนตัวซึ่งไม่สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้เสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอ บทความนี้ใช้วิธีศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติในต่างประเทศที่กำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้เผยแพร่ภาพอนาจารส่วนตัวของผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอม ได้แก่ บทบัญญัติในประเทศญี่ปุ่น ประเทศอังกฤษและเวลส์ และประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐนิวเจอร์ซี และมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ทั้งนี้ เพื่อนำมา วิเคราะห์ และหาข้อเสนอแนะในการกำหนดความรับผิดทางอาญาของผู้เผยแพร่ภาพอนาจารส่วนตัวของผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นการเฉพาะที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยและสามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้เสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. พรเพชร วิชิตชลชัย. (2550). คำอธิบายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.nocv6.kmutt.ac.th/file/explain-law.pdf
2. พิสิษฐ์ วงศ์เธียรธนา. (2552). ความรับผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาทที่กระทำต่อบุคคลสาธารณะในแวดวงการเมืองการปกครองระบบราชการ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
3. วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2543) สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
4. อนุกรรมการตรวจพิจารณาแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา. มติที่ประชุมอนุกรรมการตรวจพิจารณาแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา. ในการประชุมอนุกรรมการตรวจพิจารณาแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาครั้งที่ 47, วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2482, น. 2.
5. Bjarnadóttir, María Rún. (2016). Does the internet limit human rights protection? The case of revenge porn. Journal of Intellectual Property. 7 (3): 1.
6. Chesterfield Observer. Former Boyfriend Plead No Consent over Sex DVDs. [online] available : http://www.chesterfieldobserver.com/news/2007-04-25/news/009.html. 2007.
7. Danielle Keats Citron and Mary Anne Franks. (2014). Criminalizing Revenge Porn. 49 Wake Forest Law Review 345. 2014: 111-354.
8. Marthe Goudsmit. (2017). Revenge Pornography: A Conceptual Analysis Undressing a crime of disclosure. Philosophy of Law thesis, Leiden University.
9. Oxford. Definition of Pornography. [online] available https://en.oxforddictionaries.com/definition/pornography. 2019.
10. Shigenori Matsui. (2015). THE CRIMINALIZATION OF REVENGE PORN IN JAPAN. Washington International Law Journal. 2015 (April): 1-2.
11. The Guardian in London. Porn sites steal young people's private sexual photos. [online] available : https://www.scmp.com/news/world/article/1068129/porn-sites-steal-young-peoples-private-sexual-photos. 2012.
12. The House of Representatives, Japan. Shiji seiteki gazou kiroku no teikyou tou ni yoru higai no boushi ni kansuru hourits. [online] available : http://www.shugiin.go.jp/internet/itdb_gian.nsf/html/gian/honbun/houan/g18701017.htm. (2014).
13. The Legal Aid Commission of New South Wales (Legal Aid NSW). The sharing of intimate images without consent-Revenge porn. [online] available : https://www.justice.nsw.gov.au/justicepolicy/Documents/distribution-of-intimate-images-without-consent/Legal%20Aid%20NSW.pdf. 2016.