การรับรู้โอกาสเกิดภาวะวิกฤติ ระดับการทำลายและกลยุทธ์การสื่อสาร ในภาวะวิกฤติของบริษัทไทย

Main Article Content

สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การรับรู้โอกาสเกิดภาวะวิกฤติ ระดับการทำลายและกลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤติของบริษัทไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างการรับรู้โอกาสเกิดภาวะวิกฤติกับการรับรู้ระดับการทำลายองค์กร และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเกิดภาวะวิกฤติ การรับรู้ระดับการทำลายองค์กร กลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะวิกฤติและกลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤติของบริษัทไทย โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณแจกแบบสอบถามแก่ผู้รับผิดชอบการสื่อสารของบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า (1) การรับรู้โอกาสเกิดภาวะวิกฤติมีความแตกต่างจากการรับรู้ระดับการทำลายองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) การรับรู้โอกาสเกิดภาวะวิกฤติและการรับรู้ระดับการทำลายองค์กรไม่มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะวิกฤติ (3) การรับรู้โอกาสเกิดภาวะวิกฤติและการรับรู้ระดับการทำลายองค์กรไม่มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤติ (4) กลยุทธ์การบริหารจัดการภาวะวิกฤติมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. คันธรัตน์ มณีโชติ. (2551). กลยุทธ์การจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤติ: กรณีศึกษาองค์การเภสัชกรรม. รายงานโครงการเฉพาะบุคคลมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสื่อสารมวลชนคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
3. จันทิมา เขียวแก้ว. (2553). การวิจัยเบื้องต้นทางนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. ชลทิพย์ พูนศิริวงศ์และรุ่งนภา พิตรปรีชา. (2556). การสื่อสารประชาสัมพันธ์และกลยุทธ์ในการสื่อสารของรัฐบาลในภาวะวิกฤตอุทกภัยปี 2554. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา 6(1) มกราคม-มิถุนายน 2556: 44-64.
5. บาร์ตัน, แลรี่. (2549). การจัดการภาวะวิกฤติ (ไพโรจน์ บาลัน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
6. ปาริชาติ บุญคล้าย. (2548). การบริหารข้อมูลข่าวสารของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในภาวะวิกฤติ ศึกษาเฉพาะกรณีภัยพิบัติ. รายงานโครงการเฉพาะบุคคลมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสื่อสารมวลชนคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
7. พัชนี เชยจรรยา, เมตตา วิวัฒนานุกูลและถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ (2541). แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์ ประมวลศัพท์วิชาการทฤษฎีสำคัญ วิธีศึกษาวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.
8. วนิดา ติรภาส. (2552). การบริหารการสื่อสารในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของกระทรวงการคลัง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารสื่อสารมวลชนคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
9. ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2556). วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 13(2) กรกฎาคม – ธันวาคม 2556 : 107-114.
10. Albrecht, S.(1996). Crisis management for corporate – defense : how to protect your organization in a crisis …how to stop a crisis before it starts.Newyork: AMACOM.
11. An, Seon-Kyoung& Cheng, I-Huei (2010). Crisis communication research in Public Relations Journals: Tracking research trends over thirty years. The Handbook of Crisis Communication. Edited by W.Timothy coombs and Sherry J. Holladay,Blackwell Publishing.
12. Coombs, W. T. (2007). Ongoing crisis communication : planning, managing, and respondind. 2nd. California, Sage Publications.
13. Coombs, W. T. & Halladay, S. J. (2012). Parameters for crisis communication. The Handbook of Crisis Communication. Edited by W.Timothy coombs and Sherry J. Holladay,Blackwell Publishing.
14. Crandall, W., Parnell, J.A., and Spillan, J.E. (2010). Crisis management in the new strategy landscape. California, Sage Publications.
15. Fearn-Banks, K. (2011). Crisis communications : a casebook approach. New York: Routledge.
16. Fink, S. (1986). Crisis management :Planning for the inevitable. New York: AMACOM.
17. Mitroff, I. I. (1994). Crisis management and environmentalism: A natural fit. California Management Review, 36(2): 101-113.
18. Regester, M. (1989). Crisis management: What to do when the unthinkable happens. London: Hutchinson Business.
19. Smith, D. 1990. Beyond contingency planning: Towards a model of crisis management. Industrial Crisis Quarterly, 4: 263-275.
20. Ulmer,R. R., Timothy, S.L. & Seeger, M. W. (2007). Effective crisis communication moving from crisis to opportunity. California: Sage Publications Inc.
21. Veil, S.R. & Husted, R.A. (2012). Best practices as an assessment for crisis communication. Journal of communication Management, 16(2): 131-145.http://www.set.or.th/set/marketstatistics.do?language=th&country=TH สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2557