การใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบแบบเน้นงานปฏิบัติ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 67 คน ที่เรียนรายวิชาเชื่อมโยงองค์ประกอบในการอ่าน (English 2022105) ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว(One group pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ จำนวน 4 แผนที่มีโครงสร้างเนื้อหา 4 ประเภทได้แก่ การแจกแจงรายละเอียด การลำดับเวลาหรือเหตุการณ์ การแสดงเหตุและผล และการเปรียบเทียบ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจรายบท แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติแบบปรนัยมี 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติ ใช้เวลาในการทดลอง 36 ชั่วโมง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่า t-test แบบ Dependent sample และความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการทดสอบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบแบบเน้นงานปฏิบัติ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 38.57 และ 44.91 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนพบว่า คะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติโดยภาพรวมในระดับมากที่สุด ( = 4.59)
Article Details
References
2. นพมณี ฤทธิกุลสิทธิชัย. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเน้นเนื้อหาและการปฏิบัติภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและการปฏิบัติภาระงานของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ปาริฉัตร ใสยอด. (2552). ผลของการสอนอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. รพีพรรณ สุฐาปัญณกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเทคนิค โดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. ปริญญานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
6. วิสาข์ จัติวัตร์. (2543). การสอนอ่านภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่2. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
7. สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2551). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
8. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.opsmoac.go.th/strategic-files-391191791820. 2562.
9. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
10. อัจฉรา วงศ์โสธร. (2544). การทดสอบและการประเมินการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. Abedin, Zain Al. (2007). Task-Based Learning to Project Works. Malaysian Online Journal, 3(1): 55-56.
12. Best, J.W, & Kahn, J. V. (1986). Research for education. 6th ed. N.J.: Prentice-Hall.
13. Burton, W. H., (2001). Reading in child development. New York: Bopp-Merrill.
14. Ellis, R. (2003). Task-based language and teaching. Oxford: Oxford University Press.
15. Ellis, R. & Thomlinson, B. (1980). Teaching secondary English: A guide to teaching of English as a second language. Hong Kong: Longman.
16. Lap, Trinh Quoc & Trang, Ha Diem and Trang. (2017).The Effects of Task-Based Learning on EF Students’ Learning Reading: A Case Study in the Mekong Delta of Vietnam. Studies in English Language Teaching. 5(1):134.
17. Mirshahvalad, Mahya Sadat, Azizmalayeri, Faramarz & Akhondi, Masoumeh. (2015).The Effect of
Expository Text Structure Training and Using Graphic Organizers on Iranian Intermediate Students' Reading Comprehension Performance. International Journal of Educational Investigations. 2 (9): 46-48.
18. Nunan, D. (2004). Task-based language teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
19. O’Donnell, M. P. & Margo, W. (2004). Becoming a reader: a development approach to reading instruction. 3rd ed. Boston: Allyn and Bacon.
20. Panahi, Ali. (2012). “Binding Task-Based Language Teaching and Task-Based Language Testing: A Survey into EFL Teachers and Learners’ Views of Task-Based Approach.” English Language Teaching. 2, 5 (February): 148-152.
22. Sahin, M.C. (2009). Instructional design principles for 21st century learning skills. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 1(1), pp.1464-1468.
23. Tang, Hersong, Chiou, Jer-Shiou, & Jarsaillon, Oliver. (2015). Efficacy of task-based learning in a Chinese EFL classroom: A case study. English Language Teaching. 8(5): 168.
24. Willis, J. (1996). A framework for task-based learning. Edinburgh: Longman.