การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

จารุณี โพธิ์อ่อง
สวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร
ชวนพบ เอี่ยวสานุรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบความเหมาะสม 2) หาประสิทธิภาพ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการอ่านด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอารีย์วัฒนา จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 4 กลุ่ม คือ  (1) กลุ่ม 3 คน  (2) กลุ่ม 9 คน  (3) กลุ่ม 30 คน และ     (4) กลุ่ม 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจงและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย ได้แก่  1) แบบสอบถามความเหมาะสม 2) แบบสังเกตพฤติกรรม 3) แบบสัมภาษณ์ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่น 0.92  ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการอ่านด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ (1) คู่มือและแผนการจัดการเรียนรู้ โครงสร้างของชุดกิจกรรมการอ่าน (2) คำสั่งหรือคำชี้แจง (3) เนื้อหาสาระและสื่อ (4) แบบวัดและประเมินผล จัดแบ่งเป็น 8 หน่วยการเรียนรู้ จำแนกตามมาตราตัวสะกด ใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมงต่อหน่วยการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2)ชุดกิจกรรมการอ่านด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานมีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 82.21/82.44 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการอ่านด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการอ่านด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  วิเคราะห์ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent Samples) และ วิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนด้วยการหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) นำค่าเฉลี่ยกำหนดความหมายตามเกณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
2. ประเทศไทย.โกวิท ประวาลพฤกษ์. (2549). การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทางานของสมองและสร้างพหุปัญญา (MI) ด้วยโครงงาน Brain-based Learning. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
3. จารีย์ ขุนชำนาญ. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) พัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.
4. ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน (Reading and Reading Promotion). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย.ปีที่ 5(มกราคม-มิถุนายน): 9-12.มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
5. โชคชัย ขาวทุ่ง. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาไทยโดยใช้การบริหารสมองเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.
6. ญาณิศา สุ่มงาม. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
7. ณีรนุช เบ้าวันดี. (2552). การอ่านและการเขียนคำยากสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบกิจกรรมตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
8. ทิศนา แขมณี. (2554). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
9. บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. ปิยาวรรณ์ สัตตาคม. (2555). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องความสามารถด้านการอ่านคำตรงตามมาตราตัวสะกดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
11. ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลำไย ศรีนุกูล. (2554). ผลการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านจับใจความด้วยการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
12. ศิริพันธ์ เวชเตง. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
13. ศิริวัลย์ ไผ่เฟื้อย. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้ชุดกิจกรรมแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
14. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). รายงานผลการดำเนินงานการกำกับติดตามการดำเนินงานตามนโยบายนักเรียนชั้น ป.1 ต้องอ่านออกเขียนได้ปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
15. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจการอ่านหนังสือของประชากร. สำนักพิมพ์สถิติพยากรณ์.
16. สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา. (2559). สถิติการศึกษาของประเทศไทยปีการศึกษา 2557-2558. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
17. อาคม ทองเกษม. (2547). การพัฒนาชุดทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.