ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่สังคมคาร์บอนต่ำ: กรณีศึกษาชุมชนเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศศิชา สิทธิประการ
วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความตระหนัก ทัศนคติ และพฤติกรรมในการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำภาคการใช้พลังงานและการลดปริมาณขยะ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำและเสนอแนวทางการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประชาชนเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนในเขตบางกะปิ จำนวน 400 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 21- 30 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001-20,000 บาท อาชีพพนักงานบริษัท อาศัยในเขตบางกะปิในช่วงเวลา 0.08-18ปี เป็นส่วนมาก กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่อพาทเม้นต์ มีจำนวนสมาชิกอยู่ในช่วง 1-4 คน มีค่าใช้จ่ายการใช้พลังงานในครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 1,000 บาท และค่าใช้จ่ายในการคมนาคมขนส่งเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 1,000 บาท มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสังคมคาร์บอนต่ำโดยผ่านทางโทรทัศน์มากที่สุด กลุ่มตัวอย่างในเขตบางกะปิมีความรู้ ความตระหนัก ทัศนคติ และการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำในระดับสูง ในด้านของระดับความสำคัญของปัญหาและอุปสรรคเช่น ขาดความรับผิดชอบ ความเคยชิน นิสัยรักความสะดวกสบาย ทำให้ไม่เห็นความสำคัญของการลดปริมาณขยะและการประหยัดพลังงาน กลุ่มตัวอย่างได้ให้ความสำคัญกับปัญหาและอุปสรรคของสังคมคาร์บอนต่ำในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าประชาชนในเขตบางกะปิที่มี อายุ สถานภาพสมรส  ระยะเวลาในการอยู่อาศัย รายจ่ายด้านการคมนาคมที่แตกต่างกันมีการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำแตกต่างกัน ส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรนั้นพบว่า ความรู้ ความตระหนัก และทัศนคติเกี่ยวกับการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำมีความสัมพันธ์กับการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำและความรู้กับทัศนคติเกี่ยวกับการปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำมีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมควบคุมมลพิษและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบในประเทศไทยอย่างไร. [online] available :http://ptech.pcd.go.th/gp/main/know_detail.php?contentid=content1107310915410043. 2554.
2. จารุณี วงศ์สี. (2549). ทุนทางสังคมกับการจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษาชุมชนวัดกลาง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
3. ขนิษฐา ยาวะโนภาส. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากลดคาร์บอนกรณีศึกษานักศึกษาปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
4. ชนิสรา อิสริยะกูล. (2544). ความรู้และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในชุมชนหัวรถจักรตึกแดง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ สำนักพัฒนา-บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
5. ไทยรัฐ. ฝนถล่มกรุงนานกว่าชม. น้ำท่วมขังหลายจุด จราจรติดหนึบ. [online] available : http://www.thairath.co.th/content/488792
6. พรรณพิมล หล่อตระกูล. เรื่องของการแต่งงาน. [online] available : http://www.ramamental.com/pan/f28.htm. (2558).
7. รัตมา ใช้ไหวพริบ. (2546). ความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของชุมชนวัดกลาง เขตบางกะปิ ในการคัดแยกขยะ เพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของธนาคารขยะ.
ปริญญาวิทยศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัย-สิ่งแวดล้อม
8. ลัดดา วีระเบญจพล. (2555). การปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำภาคการใช้พลังงานของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑติพฒันบริหารศาสตร์.
9. วรรณธณี กองจนัทร์ดี. (2555). การจัดการขยะของผู้ค้าในตลาดสด ศึกษากรณีตลาดสดบางกะปิและตลาด-สดนครไทยเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
10. ศุภฤกษ์ ดวงขวัญ. (2548). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า จังหวัดปทุมธานี. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
11. สำนักบริหารการทะเบียน. สถิติจำนวนประชากรและบ้านในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายแขวงและเขต ณ เดือน ธันวาคม 2554. [online] available : http://203.155.220.230/info/esp/population_Dec54.htm. (2554)
12. สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. ขยะในกรุงเทพ. [online] available : http://www.mapopkan.com/?p=12614. (2555)
13. อมรศักด์ วงศาวณิชย์กิจ. (2546). ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมประหยัดหารสอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
14. Yamane. (1976). อ้างถึงใน สุวิมล ติรกานันท์. (2548). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
15. Rogers, Everett. M. and Shoemaker, F. Floyd. (1971). อ้างถึงใน ลัดดา วีระเบญจพล. (2555). Communication of Innovation a crosscultural approach. New York: The Free Press.