ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับแรงจูงใจในการทำงานของครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17

Main Article Content

ปัณณทัต วลาบูรณ์
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์กับแรงจูงใจในการทำงานของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามปัจจัยชีวสังคมของครูผู้สอน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับแรงจูงใจในการทำงานของครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำนวน 267 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ใน      การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทำการทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีการ LSD (Least Significant Difference) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Simple Correlation)


               ผลการวิจัย พบว่า


  1. ความฉลาดทางอารมณ์ของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

  2. ความฉลาดทางอารมณ์ของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามสถานภาพบุคคล และวุฒิการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามตำแหน่ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามเพศ อายุ ขนาดโรงเรียน และรายได้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. แรงจูงใจในการทำงานของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

  4. แรงจูงใจในการทำงานของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง สถานภาพบุคคล และวุฒิการศึกษา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามอายุ ขนาดโรงเรียน และรายได้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

      5. ความฉลาดทางอารมณ์กับแรงจูงใจในการทำงานของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 มีความสัมพันธ์กันในทางบวก โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมสุขภาพจิต. (2548). คู่มือการจัดกิจกรรม “ฝึกคิดแก้ปัญหา พัฒนา EQ” สำหรับศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย.
2. ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ญาดา หลาวเพ็ชร. (2544). บทบาทของบิดา บทบาทของมารดา กับความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
4. ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มานุษยวิทยาประยุกต์ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
5. นุจรี ไชยมงคล. (2549). ปัจจัยพื้นฐานทางครอบครัวและความฉลาดทางอารมณ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของนิสิตพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา. รายงานการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
6. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2553). สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
7. บุญธรรม อ้วนกันยา. (2551). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู กลุ่มอารยธรรมบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
8. วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ และคณะ. (2551). ปัจจัยทางจิตสังคมและคุณลักษณะครูจิตวิทยาแนะแนวที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานของครูจิตวิทยาแนะแนว. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 20 (1): 37-47.
9. วิไล ตั้งจิตสมคิด. (2554). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
10. วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2551). เชาว์อารมณ์ (EQ): ดัชนีเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
12. ศศิธร ศิริพัฒนโกศล. (2553). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
13. สมทรง สุวรรณเลิศ. (2543). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี: สำนักพัฒนาสุขภาพจิต.
14. สมพร สุทัศนีย์, ม.ร.ว. (2554). มนุษยสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
15. สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. 2541. พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
16. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (2557) ก. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (ปรับปรุงครั้งที่ 1) พ.ศ.2557-2558 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จังหวัดจันทบุรี. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sesa17.go.th/joomla/images/Development_Plan_57-58_Chan_-2.pdf. 2557.
17. (2557) ข. รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 . [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sesa17.go.th/joomla/index.php/2014-03-14-10-54-51/2014-03-14-10-52-11/444-2015-02-09-02-37-48.pdf. (2557).
18. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
19. สิริวรรณ สังข์ตระกูล. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนอนุบาลวัดกลางดอนเมืองชลบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
20. สุรพล พยอมแย้ม. (2545). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาญจนบุรี: ธรรมเมธี-สหายพัฒนาการพิมพ์.
21. เสนาะ ติเยาว์. (2546). หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
22. Alderfer, C.P. (1972). Existence, relatedness and growth. New York: Free Press.
23. Goleman, Daniel. (1998). Working with emotional intelligence. New York: Bantam Books.
24. Krejcie, R. V., & Morgan,D. W. (1970). Determining sample size for research activies. Education and Psychological Measurement. (Autumn), 30 (3): 607-610.