อิทธิพลของการเว้นระยะที่มีต่อการระลึกเสรีคำรูปธรรมและคำนามธรรม ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

อัมพวัน ประเสริฐภักดิ์
วรญา ภูเสตวงษ์
อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์
ปนัดดา ศิริพัฒนกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อิทธิพลของการเว้นระยะที่มีต่อการระลึกเสรีคำรูปธรรมและคำนามธรรม ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 30 คน เข้าร่วมรับการทดลองตามความสมัครใจ


ในการวิจัยครั้งนี้มีตัวแปรอิสระที่ศึกษา 2 ตัว คือ ลักษณะของชุดคำที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ตัวแปรอิสระตัวที่ 2 คือ ระยะห่างซึ่งมี 4 ระยะ คือ 0, 8, 16 และ 32 คำ คั่นในระหว่างการเสนอข้อกระทงครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ ชุดคำรูปธรรมและคำนามธรรม ซึ่งเป็นภาษาไทย 2 พยางค์ การทดลองครั้งนี้ดำเนินการกับผู้รับการทดลองครั้งละคน โดยการฉายรายการคำรูปธรรมและคำนามธรรมแบบต่อเนื่อง หลังจากเสนอรายการคำจบลง ให้เวลาในการระลึก 10 นาทีในแต่ละรายการ โดยให้ผู้รับการทดลองแต่ละคนเขียนคำให้ได้มากที่สุดเท่าที่สามารถระลึกได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง ชนิดวัดซ้ำภายในผู้รับการทดลองของคะแนนที่ระลึกได้ และเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้ Newman-Keules test


            ผลการวิจัยปรากฏว่า


  1. คะแนนรวมของการระลึกได้ที่ระยะห่างต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ระยะห่างต่างๆในคำรูปธรรม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในคำนามธรรม ค่าเฉลี่ยของระยะห่าง 32, 16 และ 8 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของระยะห่าง 0 แสดงว่า เกิดอิทธิพลของการเว้นระยะขึ้นในคำนามธรรม

  2. คะแนนรวมของการระลึกได้ของคำรูปธรรมและคำนามธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยของคำรูปธรรม (= 3.183) สูงกว่าคำนามธรรม (= 2.350)

  3. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชนิดของคำกับระยะห่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชัยพร วิชชาวุธ. (2549). ความจำมนุษย์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
2. สุวรรณา กาญจนผลิน. (2522). การทดสอบทฤษฎีตัวแนะพหุคูณ : การขจัดอิทธิพลของการเว้นระยะที่มีต่อการระลึกเสรีด้วยจินตนภาพตัวเลข. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. Hillgard, Ernest R. : Atkinson Richard C. and Atkinson Rita L. (1971). Introduction to Psychology. New York : Harcourt Brace Jovanovich
4. Hintzman, Douglas L. (1974). Theories in Cognitive Psychology : The Loyola Symposium. Maryland : Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
5. Hintzman, D.L. and Rogers, M.K. (1973). Spacing Effects in Picture Memory. Memory and Cognition. 1(4) : 430-434.
6. Madigan, Stephen A. (1969). Intraserial Repetition and Coding Processes in Free Recall. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior. 8 : 828-835.
7. Melton, Arthur W. (1970). The Situation with Respect to the Spacing of Repetitions. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior. 9 : 596-606.
8. Paivio, Allan. (1974). Spacing of Repetitions in the Incidental and Intentional Free Recall of Pictures and Worlds. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior. 13 : 497-511.
9. Shaughnessy, Zimmerman and Underwood. (1972). Further Evidance on the MP-DP Effect in Free Recall Learning. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior. 11 : 1-12.
10. Underwood, Benton J. (1970). A Breakdown of the Total-Time Law in Free-Recall Learning. Journal of Verbal Learning and Verbal Behavior. 9 : 573-580.
11. Wichawut, Chaiyaporn. (1972). Enooding Variability and the Effect of Repetitions in Continuous
Recognition Memory. Human Performance Center Technical Report 35. University of Michigan.
12. B.J. (1971). Statistical Principles in Experimental Design. New York : McGraw – Hill. Book Company.
13. Yamane, Taro. (1970). Statistics : An Introductory Analysis. New York : Harper & Row Publishers.