ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปุ๋ยอินทรีย์เคมีในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย

Main Article Content

วิรัตน์ พ่วงเพ็ชร
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี

บทคัดย่อ

        การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปุ๋ยอินทรีย์เคมีในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยทางด้านนวัตกรรม การคิดค้น การพัฒนาปุ๋ยสูตรใหม่  ลักษณะของบรรจุภัณฑ์  เป็นปัจจัยที่มีความสามารถในการจูงใจให้เกษตรกรมีแนวโน้นในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี 2) การจัดการสภาพแวดล้อม เกษตรกรมีความเชื่อมั่นว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีไม่มีผลกระทบที่เสียหายต่อชุมชนภาคเกษตร 3) การจัดการทางการตลาด การมีร้านจำหน่ายอยู่ใกล้ชุมชนพื้นที่การเกษตร จัดส่งปุ๋ยโดยไม่ต้องบรรจุเป็นกระสอบ มีการบริการซื้อขายผลผลิตการเกษตร ชำระค่าปุ๋ยเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว รายละเอียดส่วนผสมของสูตรปุ๋ยชัดเจน บริการขนส่งและบริการใส่ปุ๋ยให้เกษตรกร เป็นปัจจัยการแข่งขันทางธุรกิจสร้างความพึงพอใจกับเกษตรกร 4) การจัดการความรู้ จัดบริการรวมกลุ่มเกษตรกรตามประเภทของพืช การอบรม สาธิต ทดลอง อบรมการป้องกันศัตรูพืช ตรวจสภาพดิน วิเคราะห์สถิติการผลิต  จัดนิทรรศการด้านการเกษตร ทำให้เกษตรกรมีความรู้ในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ดียิ่งขึ้น 5) โลจิสติกส์ มีการขนส่งสะดวก มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย รวดเร็วทันกับความต้องการของเกษตรกร ระบบจัดเก็บปุ๋ยได้มาตรฐานปลอดภัย มีสินค้าจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่องเพียงพอ


         ทั้ง 5 ปัจจัย การบริหารจัดการดังกล่าวนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี สามารถนำมาเป็นแนวความคิดการบริหารจัดการและการให้บริการในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีของเกษตรกร ซึ่งจะเป็นปัจจัยในการแข่งขันการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กิตติศักดิ์ พรหมรัตน์. (2553). ความสามารถในการ แข่งขันของประเทศไทย. วันที่ค้นข้อมูล 25 มีนาคม 2554, เข้าถึงได้จาก http://www.foodindustrythailand.com
2. กรมวิชาการเกษตร. (2555). แนวโน้มปุ๋ยเคมีโลก. วันที่ค้นข้อมูล 25 มีนาคม 2554, เข้าถึงได้จาก http:// it.doa.go.th/pibai/pibai/n12/v_ 9-oct/rai.html.
3. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2553). ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. วันที่ค้นข้อมูล 25 มีนาคม 2554, เข้าถึงได้จาก http:// www.ryt9.com
4. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. (2551). กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เร่งส่งเสริม พัฒนาอุตสาหกรรมปุ๋ย เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทย.
วันที่ค้นข้อมูล 6 สิงหาคม 2554, เข้าถึงได้ www.dpim.go.th
5. กองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). การจัดการความรู้ของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมหิดล .กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยมหิดล
6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2555). อาสาสมัครเกษตรที่ปฏิบัติงานหมอดินอาสา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
7. กลุ่มวิจัยและประเมินผล. (2554). ดิน น้ำ ป่า คือ ความผาสุกและความมั่นคั่งของประเทศ. วารสารเศรษฐกิจ การเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 57(657),
7-9.
8. กลุ่มวิจัยและประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 1 จังหวัดเชียงใหม่. (2554). มองอนาคต ทศวรรษหน้าภาคเกษตรไทย. วารสารเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 57(653), 7-9.
9. กุลวดี คูหะโรจนานนท์. (2545). หลักการตลาด. ปทุมธานี: สถาบันราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์.
10. ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: บริษัทคู่แข่ง.
11. นพมาศ สุวชาติ. (2550). การจัดการจำหน่าย. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
12. ภาณุพงศ์ บรรเทาทุกข์. (2546). พัฒนาการของรูปแบบการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรและระบบ การการผลิตพืช : กรณีศึกษา ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต) สาขาวิชาภูมิศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยเชียงใหม่
13. มัณฑนา ทิพย์วารีรมย์. (2545). การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร และความเหมาะสมของที่ดินเพื่อ การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ: กรณีศึกษาตำบลคลองยาง อำเภอสวรรค์โลก จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต) สาขาวิชาภูมิศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยเชียงใหม่.
14. มนตรี โสคติยานุรักษ์. (2550). การศึกษาศักยภาพการแข่งขัน ของรัฐวิสาหกิจไทยทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
15. วิจารณ์ พานิช. (2555). ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้. วันที่ค้นข้อมูล 30 เมษายน 2555, เข้าถึงได้จาก http://kmi.trf.or.th
16. วิญญู พันธ์โต. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีทำการเกษตรไปสู่เกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาตำบลบ้านปิน อำเภอ ดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา บัณฑิตวิทยาลัย;
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
17. สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และคณะ. นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญต่อการเป็นประกอบการ. วารสารคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปีที่ 3 ฉบับที่ 128 ตุลาคม-ธันวาคม 2553.
18. สุภางค์ จันทวานิช. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
19. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2553). สถานภาพความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยปี. วันที่ค้นข้อมูล 30 เมษายน 2555, เข้าถึงได้จาก http://nesdb.go.th.
20. สุวิดา ธรรมมณีวงศ์และคณะ. (2541). รูปแบบและแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งของการรวมกลุ่มในมชนสาคลี จังหวัด พระนครศรีอยุธยา.กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
21. สุวิทย์ รวมสกุล. (2553). ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. วันที่ค้นข้อมูล 25 มีนาคม2554, เข้าถึงได้จากhttp://www.fti.or.th
22. แอดมินิสเตรเตอร์. (2553). ไอเอ็มดีประกาศความสามารถ ในการแข่งขันของไทยอันดับ 26. วันที่ค้นข้อมูล 25 มีนาคม 2554, เข้าถึงได้จาก http://www.krudoi.net.
23. Ballou, R.H. Business Logistics : Supple Chain Management (5th Edition). New York : Prentice Hall. (2004).
24. Eckberg, J. (2001). International Institute for Management Development.Gestion enla empresa familiar, 3(27), 44-47.
25. Houston, M. and Thill, J. (1995). Marketing. (2nd ed.). New York : McGraw Hill.
26. Kotler, P. and Armstrong, G. (2001). Principles of Marketing. (9th ed). Upper Saddle River, New Jersey : Prentice Hall.
27. Marquardt, M. (1999). Building the Learning Organization. New York:McGraw-Hill.
28. Rogers, E. M., & Shoemaker, F. F. (1971). Communication of Innovations; A Cross-Cultural Approach.
29. Shin, L. M., Whalen, P. J., Pitman, R. K., Bush, G., Macklin, M. L., Lasko, N. B., & Rauch, S. L. 2001. An fMRI study of anterior cingulate function in posttraumatic stress disorder. Biological psychiatry, 50 (12), 932-942.
30. Schwab, K. (Ed.). (2010). The global competitiveness report 2010-2011. Geneva: World Economic Forum.