การใช้เปลือกทุเรียนและเมล็ดทุเรียนบดแห้งทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารเลี้ยงปลาไน

Main Article Content

คณิสร ล้อมเมตตา
สิทธิพัฒน์ แผ้วฉ่ำ
สนธยา กูลกัลยา
อุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ

บทคัดย่อ

             การใช้เปลือกและเมล็ดทุเรียนบดแห้งทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารเลี้ยงปลาไน (Cyprinus carpio Linn.) ในอัตราที่แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ 0 (เป็นสูตรควบคุม), 25, 50, 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ระดับโปรตีนในสูตรอาหาร 19.18 – 20.06 เปอร์เซ็นต์ และพลังงาน 323.77 – 324.48 กิโลแคลอรี/100 กรัม ทดลองเลี้ยงปลาไน น้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 3.18 + 0.342 กรัม/ตัว ความยาวเฉลี่ยเริ่มต้น 4.26 + 0.186 เซนติเมตร/ตัว วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) ทำการทดลอง 3 ซ้ำ เป็นเวลา 16 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าปลาไนที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ใช้เปลือกและเมล็ดทุเรียนบดแห้งทดแทนปลายข้าวในระดับที่แตกต่างกัน มีการเจริญเติบโตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยปลาไนที่เลี้ยงด้วยสูตรควบคุม มีน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยและอัตราการเจริญเติบโตดีที่สุด แตกต่างจากปลาไนที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรทดแทน 50, 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่แตกต่างจากอาหารสูตรทดแทน 25 เปอร์เซ็นต์ และยังพบว่าปลาไนที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรต่าง ๆ ให้ผลในด้านอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อและอัตราการรอดตายไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05) จึงสามารถสรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะใช้เปลือกและเมล็ดทุเรียนบดแห้งทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารเลี้ยงปลาไนได้เพียง 25 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. คณิสร ล้อมเมตตา, สิทธิพัฒน์ แผ้วฉ่ำ, สนธยา กูลกัลยา และอุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ. (2556). การใช้เปลือกและเมล็ดทุเรียนบดแห้งทดแทนปลายข้าวในสูตรอาหารเลี้ยงปลาตะเพียนขาว.
รายงานสืบเนื่องจากการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. หน้า 474 – 486.
2. เจษฎา อิสเหาะ. (2541). การทดลองใช้เปลือกกล้วยแห้งบดละเอียดทดแทนปลายข้าวเป็นส่วนผสมของอาหารเม็ดในการเพาะเลี้ยงปลาไนและปลาแรด. รายงานการวิจัย เสนอต่อสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา หันตรา.
3. มั่นสิน ตัณฑุลเวศน์ และไพพรรณ พรประภา. (2538). การจัดการคุณภาพน้ำและการบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ . ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
4. วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. (2536). อาหารปลา. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
5. เวียง เชื้อโพธิ์หัก. (2543). โภชนศาสตร์สัตว์น้ำและการให้อาหารสัตว์น้ำ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
6. ส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิจัย สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). เจลรักษาแผลจากเปลือกทุเรียน นวัตกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์. จุฬาสัมพันธ์ ปีที่ 50 ฉบับที่ 30. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.research.chula.ac.th/cu_online/2550/ vol_30_3.htm. 2551.
7. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2553). ศูนย์ข้อมูลผลไม้. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.oae.go.th/ fruits/ index.php. (2553).
8. สิรินาถ ตัณฑเกษม. (2542). สมบัติของแป้งจากเมล็ดทุเรียนและการนำไปใช้ประโยชน์. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพฯ.
9. สุจิตรา เผือกจีน. (2539). พิษเฉียบพลันของแอมโมเนียและผลของแอมโมเนียที่เกิดจากอาหารที่มีระดับโปรตีนต่างกันต่อปลาไน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
10. สุนันท์ พงษ์สามารถ และ นรานินทร์ มารดแมน. (2532). การสกัดสารคล้ายเพคตินและการทำให้บริสุทธิ์จากเปลือกผลไม้ไทย. รายงานการวิจัย เสนอต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล, พิสมัย สมสืบ, นุชนรี ทองศรี และสาวิตรี วงศ์สุวรรณ. (2548). อาหารและการผลิตอาหารสัตว์น้ำ. สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง, กรมประมง.
12. AOAC. (1990). Official Methods of Analysis. 15th edition. Association of Official Analytical Chemists, Washington D. C.
13. AOAC. (2000). Official Methods of Analysis. 17th edition. Association of Official Analytical Chemists, Washington D. C.
14. AOAC. (2005). Official Methods of Analysis. 18th edition. Association of Official Analytical Chemists, Washington D. C.
15. Duncan, D. B. (1955). Multiple Range and Multiple F Test. Biometrics. 11: 1-42.
16. Kaushik, S.J. (1995). Nutrient Requirements Supply and Utilization in The Context of Culture. Aquaculture. 129 : 225-241.
17. Schultz, K. (2004). Freshwater Fish. Hoboken: NJ John Wiley & Sons, Inc.