รูปแบบการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

Main Article Content

วรญา ภูเสตวงษ์
สุรีย์มาศ สุขกสิ
อรุณี ทองนพคุณ

บทคัดย่อ

             การวิจัยมีว้ตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด 2) ตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) การศึกษาเพื่อกำหนดกรอบความคิดในการวิจัย 2) การร่างรูปแบบการบริหารวิชาการ 3) การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการโดยใช้เทคนิคเดลฟาย 3 รอบ 4) การตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารวิชาการ 5) การสรุปและนำเสนอรูปแบบการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัตินำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ประกอบด้วย 1) การพัฒนาหรือดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น 2) การวางแผนงานด้านวิชาการ 3) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 4) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 5) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 6) การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 7) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 8) การพัฒนาและส่งเสริมให้มี แหล่งเรียนรู้ 9) การนิเทศการศึกษา 10) การแนะแนว 11) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา 12) การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ 13) การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น 14) การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน  สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา  15) การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา 16) การคัดเลือกหนังสือ แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา และ 17) การพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  2) ความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบการบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวคิดและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
2. (2551). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์
และวิธีการกระจายอำนาจการบริหาร และการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.
3. กุลฑรี พิกุลแกม. (2551). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2.
ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
4. จิระศักดิ์ อินทร์หอม. (2548). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ปทุมธานี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
5. ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2551). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. ปัตตานี : ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
6. ธีระ รุญเจริญ. (2550). ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ : ศักยภาพ เพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
7. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
8. สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
9. Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Educational and Psychological Measurement. New York : Minnisota University.