รูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุรีย์มาศ สุขกสิ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัยได้แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อกำหนดกรอบความคิดในการวิจัย 2) การสร้างร่างรูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย 4) การตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และ เขต 2 และ5) การสรุปและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากเทคนิคเดลฟายไปสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และเขต 2 จำนวน 196 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตอบแบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปปฏิบัตินำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษา    ขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย การจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศทางกายภาพของห้องเรียน การสนับสนุนทรัพยากร จัดปัจจัยที่เอื้อต่อการคิดของครูและนักเรียน การประสานสัมพันธ์เครือข่ายชุมชน การสร้างครูแกนนำการคิด การพัฒนาบุคลากร  การนิเทศ ติดตามกำกับและประเมินผล การจัดหลักสูตรสถานศึกษามุ่งเน้นพัฒนากระบวนการคิด การมีนโยบาย วิสัยทัศน์เน้นการพัฒนาการคิด และการให้อิสระแก่ครูในการสอนคิด 2) การพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 9 ด้าน มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นโรงเรียนสมบูรณ์แบบ. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
2. _______. (2551). การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ. ดาวนภา ฤทธิ์แก้ว. (2548). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ที่มีความถนัดทางการเรียนแตกต่างกันในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
3. บุญเชิด ชุมพล. (2547). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนอำนวยวิทย์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). สื่อพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาการจัดการเรียนรู้.
5. _________. (2550). การขับเคลื่อนการคิดสู่ห้องเรียน. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
6. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
7. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) : สมศ. (2550). การประเมินคุณภาพสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. สิปปนนท์ เกตุทัต. (2545). กระบวนการเรียนรู้. เอกสารพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ลำดับที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
9. สุวิทย์ มูลคำ. (2547). ครบเครื่องเรื่องการคิด. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
10. Lumpkin, C.R. (1991). Effects of Teaching Critical Thinking Skills on the Critical Thinking Ability, Achievement, and Retention of Social Studies Content by Fifth and Sixth Grades. Dissertation Abstracts International. 51(11) 3694-A May.