แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคระยอง จังหวัดระยอง

Main Article Content

ปริยาภัทร ศรีเพชร

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)  ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง  กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคระยอง จังหวัดระยอง และ  2) เปรียบเทียบการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง  กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคระยอง จังหวัดระยอง จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครั้งนี้  จำนวน  202 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test


            ผลการวิจัยพบว่า  1)  แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคระยอง จังหวัดระยอง  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.48   เรียงลำดับจากคะแนนเฉลี่ยดังนี้  ด้านการปฏิรูปองค์การสู่ความเป็นเลิศในการเรียนรู้ค่าเฉลี่ย 3.53   ด้านพลวัตแห่งการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 3.51 ด้านการจัดการความรู้ความรู้ในองค์การแห่งการเรียน ค่าเฉลี่ย 3.48   ด้านการเอื้ออำนาจให้แก่บุคลากร ค่าเฉลี่ย 3.47 และด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ค่าเฉลี่ย  3.43   2)  เปรียบเทียบการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรหน่วยงานอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคระยอง จังหวัดระยอง  พบว่า เพศและระดับการศึกษา  แตกต่างกันทำให้การพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ในขณะที่อายุและตำแหน่งงาน แตกต่างกันทำให้การพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ .05  ในส่วนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยภาพรวม พบว่าไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จุฑามาส แสงอาวุธและพรนิภา จินดา. (2553).แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยสุราษฏร์ธานี.รายงานการวิจัย.สุราษฏร์ธานี:
วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
2. เจริญ กาศโอสถ. (2551).สภาพและปัญหาการพัฒนาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของข้าราชการประจำองค์การบริหารส่วนตำบล เขตอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่.การศึกษาค้นอิสระ
ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น.ขอนแก่น : วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
3. ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์.(2556).ระเบียบวิธีวิจัย หลักการและแนวคิดเทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : เอ็กเปอร์เน็ท.
4. ประไพพร บุตรแก้ว.(2546).การพัฒนาการปฏิบัติงานการเงินการบัญชีวิทยาลัยการอชีพเขมราฐ สังกัดกรมอาชีวศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
5. สรัญญา เฟื่องฟู.(2549).การศึกษาปัญหาการพัฒนาบุคลากรตามทัศนะของครูและผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังวัดระยองและชลบุรี.วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา.จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
6. สังวาล เขื่อนคำ.(2554).การพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการสอนของโรงเรียนวารีเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา).เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7. สุภาพร อาจเดช.(2556).ความคืบหน้าการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
8. หัตถาภรณ์ เสาร์เรือน.(2552).ศึกษาสภาพและความต้องการการพัฒนาสมรรถภาพด้านคอมพิวเตอร์ของบุคลากรงานบริหาร สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง.วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ .ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.