การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18

Main Article Content

สมัชชา จันทร์แสง
พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์
ธีรศักดิ์ อินทรมาตย์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18  2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ปีการศึกษา 2556  จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถามตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 วิเคราะห์สถิติพื้นฐานด้วยโปรแกรมการวิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้วยโปรแกรม LISREL 8.80 for Student


                ผลการวิจัยพบว่า  1) การสร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ประกอบด้วยตัวแปรแฝงจำนวน 5 ตัว สามารถวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ จำนวน 15 ตัว 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่าสถิติดังนี้ c2 = 13.15, df = 25, p-Value = 0.97466, RMSEA = 0.000, GFI = 0.996, AGFI = 0.979 โดยตัวแปรแฝงในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรแฝงภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ ได้ร้อยละ 87 3) ผลการวิเคราะห์ขนาดอิทธิพลของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ส่งอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวม ต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ การสื่อสารส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์โดยผ่านความคิดสร้างสรรค์ และความคิดสร้างสรรค์ส่งอิทธิพลทางตรง และอิทธิพลรวมต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จิตรี เกษสุวรรณ์. (2553). ศึกษาเรื่องวัฒนธรรมองค์การและบรรยากาศองค์การของบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด : กรณีศึกษาสำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
2. จิติมา วรรณศรี. (2550). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
3. ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. นิกัญชลา ล้นเหลือ. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5. บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2548). มุขบริหารสู่การเป็นผู้นำ. เล่มที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
6. ปนัสยา เสียงก้อง. (2549). ศึกษาระดับการรับรู้บรรยากาศองค์การของพนักงานปฏิบัติการบริษัทเอกชน. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
7. พิมใจ วิเศษ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูอำเภอบ้านนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
8. พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์. (2555). ภาวะผู้นำทางการศึกษา. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
9. วนิดา ปรียอนุกูล. (2549). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
10. วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
11. วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2551). เชาวน์อารมณ์ (EQ) : ดัชนีวัดความสุขและความสำเร็จของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน.
12. สุริพงศ์ สังข์ชัย. (2556). ผู้บริหารสถานศึกษายุคปฏิรูปศึกษา. [online] available : http://www.kroobannok.com/blog/43220. 2011.
13. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559). กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
14. เสาวนิตย์ ทวีสันทนีนุกูล. (2548). ภาวะผู้นำปริวรรต : ตัวจักรสำคัญสำหรับผู้บริหารในยุคปฏิรูปการศึกษา. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
15. อัลวี จารงค์. (2551). บรรยากาศองค์การในโรงเรียนเอกชนสามัญ ระดับการศึกษาขันพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
16. Kevin, S. G. (2006). Leader emotional expressivity, visionary leadership and organizational change. Journal of Leadership & Organization Development, 27(7) : 566-583.
17. LeSourd, S. J. (1990). Principals' attitudes toward visionary leadership. The High School Journal, 73(2) : 103-110.
18. Nanus, B. (1992). Visionary leadership : Creating a compelling sense of direction for your organization. San Francisco, CA : Jossey-Bass.
19. Schumarker. R. E. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling, 2nded. New Jersey : Lawrence Erlbaum Associates.
20. Wilmore, E.L. (2002). Principal leadership: Applying the new educational leadership constituent council (ELCC) standards. Thousand Oak, California :
Conwin Press.