คุณลักษณะที่เป็นจริงของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา หลักสูตร 5 ปี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูพี่เลี้ยง ปีการศึกษา 2557
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่เป็นจริงของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู สาขาวิชา พลศึกษา หลักสูตร 5 ปี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและ ครูพี่เลี้ยง ปีการศึกษา 2557 จำนวน 4 ด้าน คือ ด้านมาตรฐานความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ ด้านมาตรฐาน การปฏิบัติงาน ในสถานศึกษา ด้านมาตรฐานการปฏิบัติตน ในสถานศึกษา และด้านจรรยาบรรณของวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยงของโรงเรียนที่รับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่โรงเรียน ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
คุณลักษณะที่เป็นจริงของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา หลักสูตร 5 ปี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูพี่เลี้ยง ปีการศึกษา 2557 โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (=4.30) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูพี่เลี้ยงพบว่าด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานในสถานศึกษา ด้านมาตรฐานการปฏิบัติตนในสถานศึกษาและด้านจรรยาบรรณ ของวิชาชีพครู มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (=4.28, =4.37, = 4.40,
= 4.12) ตามลำดับ
Article Details
References
2. จักรวรรดิ กิ่งส้มกลาง. (2552). คุณลักษณะที่เป็นจริงของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษาหลักสูตร 5 ปี สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูพี่เลี้ยง ปีการศึกษา 2552. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย.
3. ผาณิต บิลมาศ (2522). คุณลักษณะของครูที่พึงปรารถนาสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร.ปริญญานิพนธ์ ค.ม.(พลศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548.) มาตรฐานวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานวิชาชีพ.
5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). เสริมพลังบทบาทครูโลกที่เปลี่ยนแปลงในมุมมองของเอเชีย-แปซิฟิก. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.
6. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (2552-2561). สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2558,
จาก http://www.techno.ictbk.net/UserFiles/pratirub%202.pdf
7. Best, J. W. (2006). Research in Education. 10th ed. Boston : Allyn and Bacon.