ปัจจัยที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระหว่างประเทศ: กรณีศึกษา พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

ณัฐวัฒน์ โต๊ะงาม
จุฑารัตน์ ชมพันธุ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด และความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัย คือ แรงขับเคลื่อน แรงกดดัน สถานการณ์ ผลกระทบ และการตอบสนอง (DPSIR) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi -  Structured Interview) กับกลุ่มเป้าหมายหลัก ในพื้นที่ของ 4 ตำบล คือ ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว ตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม


จากการศึกษา พบว่าปัจจัยแรงขับเคลื่อน (Drivers) เป็นปัจจัยเริ่มต้นที่สำคัญของสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อมพื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด ได้แก่ การเติบโตของเศรษฐกิจบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จำนวนประชากรที่ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้น และการสร้างเขื่อนเหนือบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดปัจจัยแรงกดดัน (Pressures) นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด เช่น การบุกรุกป่าชายเลน ปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำเกินสมดุลธรรมชาติ แรงกดดันดังกล่าวได้นำไปสู่ปัจจัยสถานการณ์ (States) ปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด ส่งผลกระทบ (Impact) ต่อระบบนิเวศของพื้นที่โดยรวม เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน และความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ลดลง การแก้ไขปัญหาหรือการตอบสนอง (Responses) ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เนื่องจากมีผลบังคับใช้เชิงกฎหมายในการดูแลพื้นที่ชุ่มน้ำโดยตรง อีกทั้งยังสามารถลดปัจจัยต้นเหตุของปัญหาได้ครอบคลุมมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชัยพฤกษ์ วงศ์สุวรรณ. (2553). คุณภาพสิ่งแวดล้อม และแนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลบริเวณปากแม่น้ำแม่กรอง.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2. ณัฐกานต์ สุวรรณะ. (2546). ความสามารถของชุมชนในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณี ดอนหอยหลอด ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
3. ธีรวุฒิ ชิยานนท์. (2547). การกำหนดพื้นที่ศักยภาพเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ บริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล และจิราวัลย์ จิตรถเวช. (2555). การพัฒนาดัชนีและตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน ในระดับภาคของประเทศไทย. ค้นวันที่16 กรกฎาคม 2557. จากhttp://cse.nida.ac.th/
main/images / index.pdf.
5. สุธาสินี แท่นอ่อน. (2550). การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม ตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
6. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2553). มติคณะรัฐมนตรี 3 พฤศจิกายน 2552 การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ. กรุงเทพมหานคร: สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ.
7. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2553). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
8. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2552). ทำความเข้าใจกับ อนุสัญญาแรมซาร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักความหลากหลายทางชีวภาพ.
9. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสมุทรสงคราม. (2553). ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2553. ค้นวันที่ 18 กรกฎาคม 2557 จาก pcoc.moc.go.th/wappPCOC/ 75/upload /File_IPD_FILE75172920.docx
10. สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). รายงานคุณภาพน้ำผิวดิน ปี 2555. ค้นวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 จากhttp://www.envwest.com/present /wq_report% 202555.pdf
11. Kristensen P. (2004). The DPSIR framework. Paper presented at the 27-29 September 2004 workshop in a comprehensive/detailed assessment of the vulnerability of water resources to environmental change in Africa using river basin approach. UNEP Headquarter, Nairobi, Kenya.
12. Organization for Economic Co-operation and Development (OECD).(1994). Environmental Indicators. OECD Core set.Paris, France:OECD
13. The Ramsar Convention on Wetland. (2014). The convention on Wetlands text, as amended in 1982 and 1987. Retrieved August 20, 2014.from http://www.ramsar.org/cda/en/ramsar-documents-texts-convention-on/main/ramsar/1-31-38%5E20671_4000_0__