ปัจจัยการเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่มีผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

จิราภรณ์ กันทะไชย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สมศักดิ์ ลิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร 2)ศึกษาความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร 3)ศึกษาปัจจัยการเตรียมความพร้อมของอาจารย์ ผู้บริหาร ผู้เรียนที่มีผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากร 4)สร้างสมการทำนายความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรของวิทยาลัยเทคโนโลยีอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ จำนวน 198 คน ผู้บริหาร จำนวน 90 คน และนักเรียนจำนวน 400  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเก็บข้อมูลระหว่าง กันยายน-พฤศจิกายน  2556  


                ผลการวิจัยพบว่าอาจารย์ ผู้บริหารมีแรงจูงใจในการทำงาน, ทัศนคติ, ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, บรรยากาศขององค์การ, ความตระหนัก, อยู่ในระดับมากและมีความรู้ในระบบของการประกันคุณภาพการศึกษา              ในระดับคะแนน 80 -100  ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 42.70  ผู้เรียนมีความตระหนัก, ทัศนคติ และมีความรู้ในระบบของการประกันคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับคะแนน 80 -100 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 75.00 และมีทัศนคติ, ความตระหนักอยู่ในระดับมาก             ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Enter Multiple Regression Analysis) พบว่าปัจจัยการเตรียมความพร้อมของอาจารย์ด้านความตระหนักมีผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยการเตรียม                ความพร้อมของผู้บริหารด้านด้านความตระหนักมีผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ปัจจัยการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนด้านทัศนคติ และความตระหนักมีผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กุญชรี เต็มเปี่ยม. (2546). การเตรียมความพร้อมเพื่อการประกันคุณภาพ ภายในของสถานศึกษา สังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารอาชีวศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
2. กมลวรรณ ดีเลิศ. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาใน ระบบกลางของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขตปทุมวัน กทม. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
3. ผาสุก จินตนาวสาร. (2549). แรงจูงใจในการทำงานของข้าราชการครูโรงเรียนชลกันยานุกุล. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
4. พงศ์เทพ จิระโร. (2555). หลักการวิจัยทางการศึกษา. ชลบุรี: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
5. พรทิพย์ บุญนิพัทธ์. (2531). ทัศนคติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
6. สรกมล แจ่มจันทร์. (2547). การศึกษาการดำเนินการประกันคุณภาพในสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย และวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. สุวจี ศิริปัญโญ. (2536). บรรยากาศองค์การและผลกระทบต่อทัศนคติต่ออาชีพรับราชการ: ศึกษาเฉพาะกรณี ข้าราชการสังกัดสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ปัญหาพิเศษรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารระหว่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
8. สกุลรัตน์ สมบูรณ์กุล.(2546) บรรยากาศองค์การที่มีผลต่อทัศนคติในอาชีพรับราชการของพนักงานเทศบาล นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
9. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). นโยบาย ค้น 10 กันยายน 2552, จาก http://www.vec.go.th/