การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาธูปฤาษีเป็นยากันยุงเพื่อส่งเสริมธุรกิจชุมชน

Main Article Content

ปัญญณัฐ ศิลาลาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ยากันยุงโดยใช้ธูปฤาษีเป็นส่วนประกอบ และทดสอบประสิทธิภาพและหาอัตราส่วนยากันยุงที่เหมาะสมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแก่กลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่นและสำรวจคิดเห็นและความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ มีจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสรุปผลการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาธูปฤาษีเป็นยากันยุงเพื่อส่งเสริมธุรกิจชุมชนพบว่า การทำกาวแป้งเปียกจะใช้ปริมาณแป้งมัน 200 กรัม ปริมาณน้ำ 0.30 ลิตร ที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 20 นาที กาวแป้งเปียกที่ได้จะไม่เหลวและไม่หนืดจนเกินไป คนง่าย มีความเหนียวและมีสีใส จากนั้นนำดอกธูปฤาษีระยะดอกแก่สามารถดึงด้วยมือได้ การทำยากันยุงธูปฤาษีในแบบพิมพ์ต่างๆ ใช้ปริมาณสมุนไพร 100 กรัม ดอกธูปฤาษี 100 กรัม และกาวแป้งเปียก 300 กรัม จะได้ยากันยุงที่มีกลิ่นของสมุนไพรชนิดนั้นๆ ชัดเจนเมื่อเผาไหม้ เนื้อยากันยุงที่ได้ผสมเป็นเนื้อเดียวกันและไม่หักง่าย นำสีผสมอาหารปริมาณ 3 กรัม ผสมน้ำปริมาณ 0.05 ลิตร จะได้ยากันยุงที่มีสีเด่นชัดมาก ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพของยากันยุงธูปฤาษี ภายในระยะเวลา 3 เดือน การเปื่อยยุ่ย การเปลี่ยนสีและการเปลี่ยนกลิ่น ยังมีสภาพคงเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของยากันยุงธูปฤาษี ส่วนประสิทธิภาพการเผาไหม้ด้วยขนาดรูปทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8 เซนติเมตร ความยาว 30 เซนติเมตร ใช้เวลาเผาไหม้ 90 นาที ประสิทธิภาพในการป้องกันเมื่อจุดยากันยุงผ่านไป 5 นาที ยุงเริ่มหนีหาย ผ่านไป 15 นาที ไม่พบยุง ส่วนประสิทธิภาพหลังการเผาไหม้สิ้นสุดลงแล้ว 20 นาที ยุงเริ่มกลับมา ด้านแบบสอบถามผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความคิดเห็นและความพึงพอใจในรูปแบบที่แปลกใหม่และไม่มีสารพิษ


   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล และมนัสศิริ เผือกสกนธ์. (2548). สูตรใหม่การตลาดย้อนยุค ปลุกกระแส. มาร์เก็ตติ้ง กูรู แอสโซซิเอชั่น.
2. ดนัย จันทร์เจ้าฉาย และยศยอด คลังสมบัติ. (2547). เจาะลึกการตลาดจาก A-Z: 80 แนวคิดที่ผู้จัดการทุกคนต้องรู้ซึ้ง. ดีเอ็มจี. กรุงเทพฯ.
3. นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์. (2550). วิถีของธุรกิจขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: เดคิซูกิดอทเนต.
4. ประพนธ์ อางตระกูล. (2557). อย. ห่วงภัยแฝงช่วงหน้าฝนจากการสูดดมยาจุดกันยุงกองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. กระทรวงสาธารณสุข.
5. ปัญญณัฐ ศิลาลาย. (255)1. การเพิ่มมูลค่าของธูปฤาษีเพื่อทำเป็นโคมไฟและ ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนเพื่อส่งเสริมธุรกิจชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
6. พีรพันธ์ บางพาน. (2545). เครื่องผลิตเทียนตะไคร้หอมกันยุงแบบรีด. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
7. เพ็ญจันทร์ สังข์แก้ว และคณะ. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงประเภทธุรกิจเกษตร ของเกษตรกรปลูกมะขามหวานเพื่อการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
8. วุฒินันท์ คงทัตและคณะ. (2548). ธูปไล่ยุงเสม็ดขาว. ฝ่ายเทคโนโลยีชีวมวลและพลังงานชีวภาพ. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
9. ศิริวรรณ ศิริอารยา. (2548). การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาทรัพยากรบุคคล. สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน.
10. สุจิตรา นิมมานนิตย์. (2551). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
11. อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ และพรรณีกา อัตตนนท์. (2548). สะเดาและการนำไปใช้ประโยชน์. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
12. อุรุญากร จันทร์แสง และคณะ. (2536). การศึกษาและจัดทำคู่มือรูปภาพใช้วินิจฉัยยุงเพศเมียที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศไทย. กองกีฏวิทยาทางแพทย์. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข.
13. อุษาวดี ถาวระ และคณะ. (2548). ชีววิทยา นิเวศวิทยา และการควบคุมยุงในประเทศไทย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
14. อัมพร คล้ายแก้ว. (2551). การนำวัชพืชน้ำมาผลิตและปรับปรุงเป็นแผ่นวัสดุเพื่อเส้นใยเซลลูโลสจากแบคทีเรียใช้แทนหนังสัตว์: ทางเลือกใหม่ในการควบคุมการแพร่ระบาดวัชพืชน้ำในพื้นที่ชลประทาน. กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
15. Baker, H.J. (1974). The evolution of weeds. Ann. Rev. Ecol. Syst. 5: 1-24.
16. Craft, A.S. (1975). Modern Weed Control. University Of Califlonia Press., Berkely, CA, USA.
17. Hill, T.A. (1977). The Biology of Weeds: Studies in Biology No. 79. Edward Arnold. Pub, London, UK.
18. Mercado, B.L. (1979). Introduction to Weed Science. South East Asean Research Cooperation Agency, College, Laguna. Philippines. 292 p.