การประเมินอภิมานรายงานการประเมินกับสภาพความสอดคล้องของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ฉัตรกนก ศรีธรรม
พงศ์เทพ จิระโร
สมศักดิ์ ลิลา

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินอภิมานคุณภาพของรายงานการประเมินโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ สถานศึกษาพอเพียง เพื่อศึกษากระบวนการประเมินสถานศึกษาพอเพียง และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการประเมินสถานศึกษาพอเพียง              กลุ่มตัวอย่างเป็นรายงานผลการประเมินโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ สถานศึกษาพอเพียง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1                 และเขต 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 64 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินอภิมานรายงานผลการประเมินสถานศึกษาพอเพียง แบบสอบถาม ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการประเมินสถานศึกษาพอเพียงและแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการประเมินการสถานศึกษาพอเพียงวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย                          การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) และส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินอภิมานรายงานผลการประเมินโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ สถานศึกษาพอเพียง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 และเขต 2 ภาพรวมคุณภาพรายงานทุกมาตรฐานอยู่ในระดับดีเยี่ยม การสังเคราะห์ผลการประเมินพบว่าผลการวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการประเมินโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ สถานศึกษาพอเพียง ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1 และเขต 2 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาในระดับรายด้านการประเมินแล้วพบว่า รายการการประเมินอยู่ในระดับดีมากทั้ง 5 ด้าน การวิเคราะห์เปรียบเทียบพื้นที่ตั้งแตกต่างกัน มีคะแนนผลการประเมินโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ สถานศึกษาพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และช่วงเวลาที่ได้รับการประเมินที่แตกต่างกัน มีคะแนนผลการประเมินโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือ สถานศึกษาพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2541). ทฤษฎีใหม่:มิติที่ยิ่งใหญ่ทางความคิด. เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการปราชญ์ เพื่อแผ่นดิน : ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สถาบันนโยบายการศึกษา. ถ่ายเอกสาร.
2. ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2550). การพัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตร: การประยุกต์ใช้การประเมินอภิมาน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
3. เทวิน ศรีสองเมือง. (2551). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการจัดการเรียนการสอนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. นิสา ชูโต. (2538) การประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: พี.เอ็น. การพิมพ์.
5. นิตยา เหมือดไธสง. (2543). การส่งผ่านตัวกลางเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านนักเรียน ด้านครู และด้านโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์: การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัย. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. เนติ เฉลยวาเรศ. (2541). การประเมินอภิมานการใช้แบบจำลองซิปในการประเมินโครงการการศึกษา. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
7. นงลักษณ์ วิรัชชัย; และวรรณี เจตจำนงนุช. (2548). รายงานการวิจัยเรื่องการสังเคราะห์รายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
8. ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางประชาสังคม: แนวพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
7. พีรภา บุญเพลิง. (2550). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมความสำเร็จในการดำเนินงานของโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. พงศ์เทพ จิระโร. (2553). เอกสารประกอบการสอน วิชา การวัดและประเมินผลการศึกษา. ชลบุรี: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาประยุกต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
9. รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
10. วิลาสินี พรรณรัตนศิลป์. (2551). การศึกษารูปแบบการดำเนินงานในโรงเรียนต้นแบบตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง:การวิจัยพหุกรณีศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. วรรณวิสา กิจสนิท. (2552). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
12. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
13. ศึกษาธิการ,กระทรวง. (2550). การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 เข้าถึงได้จาก http://www.sufschool.net/
14. สิรินทร์พร วงศ์พีรกุล. (2552). การติดตามและประเมินกระบวนการนำนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ไปปฏิบัติในสถานศึกษา:การประยุกต์วิธีการประเมินแบบผสมผสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
15. สุวิมล ติรกานันท์. (2545). การประเมินโครงการ: แนวคิดสู่การปฎิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
16. สุวิมล ว่องวาณิช. (2549). ประเภท ขั้นตอนของการประเมินอภิมาน และคุณสมบัติของนักประเมินอภิมานในการประเมินอภิมาน วิธีวิทยาและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
17. สุเมธ ตันติเวชกุล. (2544). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในใต้เบื้องพระยุคลบาท. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
18. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2541). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
19. ไสว บุญมา. (2543). เศรษฐกิจพอเพียง : ภูมิปัญญาชาติไทย. กกรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
20. อมรรัตน์ พันธ์งาม. (2543). การพัฒนากระบวนการประเมินแฟ้มผลงานและการใช้ประโยชน์จากผลการประเมินแฟ้มผลงาน: การประยุกต์ใช้การประเมินอภิมาน. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
21. Owston, R. D. (2000). A Meta-evaluation of Six Cases Studies of Web-based Learning.A Paper Presented at the Annual Meeting of the American Educational ResearchAssociation. New Orleans. Available Online: http://www.edu.yorku.ca:8080/
~rowston/aera2000html
22. Scriven, M. S. (1991). Evaluation Thesaurus. London: Sage Publications.
23. Stufflebeam, D. L. (1974). Meta-evaluation. n.p.