ความต้องการของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเทศบาลในเขตอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาล ในเขตอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาล ในเขตอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ให้บริการของเทศบาล ในเขตอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 7 แห่ง จำนวน 379 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ ทดสอบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe's Method)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลในเขตอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยรวม พบว่า ความต้องการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยสามลำดับแรก ได้แก่ ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รองลงมาด้านการบริการร่วมกับภาคเอกชน/เคาน์เตอร์เซอร์วิส ด้านสวัสดิการและสังคม และด้านการจัดเก็บรายได้ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาล ในเขตอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี พบว่า ประชาชนในเขตพื้นที่การให้บริการของเทศบาล ในเขตอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ภาพรวมและรายด้านมีปัจจัยด้าน การศึกษา รายได้ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ความเข้าใจในอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ต่างกันจะมีความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาล ในเขตอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ส่วนประชาชนในเขตพื้นที่การให้บริการของเทศบาล ในเขตอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ภาพรวมและรายด้านมีปัจจัยด้านที่มีปัจจัยด้าน เพศ อายุ อาชีพต่างกันจะมีความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาล ในเขตอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
2. จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2549). เจตคติและความพึงพอใจในการบริการ. เอกสารการสอนวิชาจิตวิทยาการบริการหน่วยที่ 8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
3. ชูศักดิ์ เสโลห์. (2550). ความต้องการของประชาชนที่มีต่อบริการสาธารณะในเทศบาลตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์. รป.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4. มูลนิธีวิกิพีเดีย. (2556). เทศบาล. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2556.
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2550). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546).
6. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.
7. รูปแบบการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย. (2555). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2557. จาก http://writer.dek-d.com/plugna99/story/viewlongc.php?id=675528&chapter=89
8. วรลักษณ์ รอดริเกซ. (2551). ความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการของกองประปา เทศบาลเมืองจังหวัด อุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ .รป.ม. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
9. วรินทร พูลสนอง. (2552). ความต้องการของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วน ตำบลท่าหลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี.
10. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2496). พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา.
11. อุบลรัตน์ เผ็งสถิต. (2532). จิตวิทยาการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (รัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
12. ที่ว่าการอำเภอมะขาม. (2556). จำนวนประชากร. วันที่ 30 สิงหาคม 2556.
13. Almond, Gabriel A. and Powell, Jr.,G. Bingham. (1966). Comparative Politics: A Developmental Approach. Boston : Little, Brown and Company.
14. Kotler, Philip and Armstrong, Gary. (2004). Principles of Marketing. Tenth Edition. Pearson Prentice Hall: New Jersey.