การพัฒนาจักรยานไฟฟ้ากึ่งอัตโนมัติเพื่อชุมชนบ้านท่าศาลา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพร้อม 2) เปรียบเทียบความพร้อม 3) ทดสอบระดับความรู้และความเข้าใจด้านประชาคมอาเซียน 4) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะความพร้อมของผู้บริหารและบุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้วเพื่อ เข้าสู่ประชาคมอาเซียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการวิจัย 1) ความพร้อมของผู้บริหารและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้วเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภาพรวมความพร้อมอยู่ในระดับมาก 2) ความพร้อมของผู้บริหารและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้วเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ ตำแหน่ง/ หน้าที่ การศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ภาพรวมความพร้อมอยู่ในระดับมาก 3) ระดับความรู้และความเข้าใจด้านประชาคมอาเซียน พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจมาก คิดเป็นร้อยละ 62.80 4) จากการวิจัยในครั้งนี้ พบปัญหา 7 ประการที่จะนำไปสู่ข้อเสนอแนะผู้บริหารและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน คือ 1) ปัญหาการทุจริต คอรัปชั่นในส่วนการใช้อำนาจในทางมิชอบใน อปท. 2) ปัญหาความพร้อมด้านภาษาและการสื่อสาร 3) ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ 4) ปัญหาผู้บริหารท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของ อปท. ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารท้องถิ่น ข้อกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ 5) ปัญหาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 6) การรักษาความสงบเรียบร้อย 7) ปัญหาความเข้าใจในบทบาทของชุมชนที่มีหน้าที่ต่อประชาคมอาเซียน (AEC)
Article Details
References
2. วีรากร อุตร์เลิศ. (2555) การเตรียมความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน กรณีศึกษา : พื้นที่เทศบาลตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย. วิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 5(1). 96-104.
3. สุธิดา ปัททุม และไกรชิต สุตะเมือง. (2556). การรับรู้ต่อการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตามนโยบายของรัฐบาล ในกลุ่มประชากรบุคคลวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ. 3(4). 490-507.
4. สมใจ กงเติม. (2555). การศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.คณะครุศาสตร์. เพชรบูรณ์ : สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.