ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพในการจัดการเรียนการสอน สาขาการจัดการการบินของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ

Main Article Content

สมพงษ์ อัศวริยธิปัติ

บทคัดย่อ

 


            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพในการจัดการเรียนการสอนสาขาการจัดการการบิน ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระในด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านสื่อการสอนและสถานที่จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 141 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคาดหวังคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนสาขาการจัดการการบิน ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.25) 2. การรับรู้คุณภาพในการจัดการเรียนการสอนสาขาการจัดการการบิน ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระโดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.52)  3. ผลการเปรียบเทียบความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพในการจัดการเรียนการสอน พบว่า 1) นักศึกษาสาขาการจัดการการบินที่มีเพศและ ระดับการศึกษาต่างกันมีความคาดหวังคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  2) นักศึกษาสาขาการจัดการการบินที่มีเกรดเฉลี่ยสะสมต่างกันมีความคาดหวังคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3)นักศึกษาสาขาการจัดการการบินที่มีเพศและเกรดเฉลี่ยสะสมต่างกันมีการรับรู้คุณภาพในการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) นักศึกษาสาขาการจัดการการบินที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีการรับรู้คุณภาพในการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จุฑามาศ สิทธิขวา. 2542. ความต้องการรับรู้ข่าวสารของผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการจากงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
2. ชีวภัทร ธรรมเกสร. 2552. ทัศนะของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
3. ถิรดา ยุกตะนันทน์. 2556. การจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีตามความคิดเห็นของนักศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
4. ธร สุนทรายุทธ. 2551. การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุล.
5. นารี รมย์นุกูล. 2547. ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยศรีปทุม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
6. ไพฑูรย์ พิมดีและคณะ. 2556. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาโมเดลลิสเรลพฤติกรรมการสอนโดยใช้อินเตอร์เน็ตของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
7. ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2553. กลยุทธ์การสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. สุพาณี สฤษฎ์วานิช. 2549. พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
9. สุทธิกาญจน์ เอี่ยมอุดม. 2549. ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของ โรงเรียนฤดีศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
10. สุลิพัน โสมมะลัด. 2553. ประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการและการประเมินโครงการมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
11. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2553. สภาพการจัดการศึกษาเฉพาะทางในประเทศไทยปี2551: การผลิตบุคลากร. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด
12. Gagne, R. M. 1985. The Conditions of Learning and Theory of Instruction. 4th ed.San Francisco : Holt, Reinhart and Winston.
13. Kast. Fremont E. and Rosenzweig. Jame E. 1985. Organization and Contingency Approach. 4th ed. Singapore: McGraw-Hill.