ผลการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีคอนสตรัสติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีคอน สตรัสติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 70
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 มีจำนวนนักเรียน 39 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีคอนสตรัสติวิสต์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยกิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวทางทฤษฎีคอนสตรัสติวิสต์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
2. กรมวิชาการ. (2543). เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ ผู้เรียนสำคัญที่สุด : การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
3. กรมวิชาการ. 2543. เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด : การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
4. เกื้อจิตต์ ฉิมทิม และคณะ.2544. รายงานการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5. โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. 2556. ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ บทสรุป สำหรับผู้บริหาร. สมุทรปราการ: โรงพิมพ์แอดวานซ์ พริ้นติ้ง เซอวิส.
6. งานนโยบายและแผนงานโรงเรียนปรางค์กู่. สารสนเทศโรงเรียนปรางค์กู่ ประจำปีการศึกษา 2556. ศรีสะเกษ : โรงเรียนปรางค์กู่
7. ฉลอม ไชยริบูรณ์. 2553. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตาม แนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
8. ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. นรวิชญ์ ภูสงัด. 2553. การศึกษาทักษะในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิ เส้นตัวแปรเดียว โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 . วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและ การสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
10. พวงรัตน์ ทวีรัตน์.2530.การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพ ฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษา และจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
11. มยุรีย์พร ขัยติยู. 2553. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
12. ยุพิน พิพิธกุล. 2539. การเรียนการสอน.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
13. ยุพิน พิพิธกุล . 2545.การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยุคปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
เยาวลักษณ์ นาหนองขาม. 2553. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาการคูณหารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
14. รุ่งนภา แก้ววงษา. 2553. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนตามทฤษฎี คอนสตรัคติวิสตร์กับวิธีการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
15. วิชัย วงษ์ใหญ่. 2543. ปฏิรูปการเรียนรู้ : ผู้เรียนสำคัญที่สุด สูตรสำเร็จ หรือกระบวนการ. สารปฏิรูป 3, 28 (กรกฎาคม 2543) : 12.
16. วิวัฒพงษ์ พัทโท.2554. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประกอบหลัก “สุ จิ ปุ ลิ” เรื่อง เศษส่วน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (คณิตศาสตร์) : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
17. เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. 2555. ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์: หลักสูตร การสอนและการวิจัย. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
18. สิริพร ทิพย์คง.2536. ทฤษฎีและวิธีการสอนคณิตศาสตร์.(เอกสารประกอบคำสอน).กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.อัดสำเนา.
20. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. 2555. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.3) ปีการศึกษา 2555 วิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
21. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. 2556. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.3) ปีการศึกษา 2556 วิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
22. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2550. ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.2550.
23. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2551.ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: หจก. ส เจริญการพิมพ์.
24. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.3) ปีการศึกษา 2555 วิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
25. สุลัดดา ลอยฟ้าและคณะ.2530. การพัฒนารูปแบบการสอนการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ ระดับ ประถมศึกษา. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
26. อำพร อินทรปัญญา. 2554. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา และการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
27. Goodman, Eric. 2004. Connected Mathematict Project : A constructivist view of mathematics education in the middie grades M.A.E. Washington : Pacific Lutheran University.
28. Wade E. 1996. “A student of the Effects of a Constructivist – based Mathematics problem – Solving Instructional Program on the Attitude, Self – confidence, and Achievement of post – Fifth – grade Students. ” Dissertation Abstract International, 55(11) : 3411 – A.