การศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง

Main Article Content

ภควัตพร มหาเขตต์
เฉลา ประเสริฐสังข์
วิเชียร พันธ์เครือบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการในสถานศึกษา ได้แก่ ขยัน ประหยัดซื่อสัตย์ มีวินัย สุภาพ สะอาด สามัคคี และมีน้ำใจ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง ปีการศึกษา 2556  ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 33 คน ครูผู้สอนจำนวน 303 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  การวิเคราะห์ใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ของคำตอบ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffé)


               ผลการวิจัยพบว่า  1)  สภาพการจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการในสถานศึกษาโดยภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ทั้ง 8 ด้าน  2)  ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความสุภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3)  ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพ การจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความขยัน  ความซื่อสัตย์  และความสะอาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4)  ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ยกเว้นด้านความซื่อสัตย์และด้านความสามัคคี  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ  5)  ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีอายุการทำงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่  การศึกษาประถมศึกษาระยอง โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านความขยันและความซื่อสัตย์  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ยกเว้นด้านความขยันและด้านความสะอาด  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมวิชาการ. 2546. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2552 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
2. กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2550. 8 คุณธรรมพื้นฐาน. (โปสเตอร์)
3. คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม. 2548 : 2 - 6). รายงานสรุปผลการจัดสัมมนาเรื่อง “แนวทางการส่งเสริมพระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมไทย และการจัดงานพิธีมอบโล่พุทธคุณูปการ”.กรุงเทพฯ : คณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม, สภาผู้แทนราษฎร.
4. เจริญ ธีรธนภาคย์. 2545. การศึกษาการปฏิบัติงานกิจการนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
5. ชมพูนุช ศรีเสาวลักษณ์. 2550. การศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ ในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ปีการศึกษา 2550. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
6. นลินี นุตย์จิตะ. 2553. แนวทางการดำเนินงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7. มนูพันธ์ ชลายนเดช. 2550. คุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
8. ลัดดา ครสวรรค์. 2547. การปฏิบัติตามหลักคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
9. วารี ถิระจิตร. 2550. การศึกษาสําหรับเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. สงกรานต์ เนินหาด. 2547. พฤติกรรมด้านคุณธรรมของผู้บริหารโรงเรียนในทัศนะของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
11. สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ไอ เอฟ ดี. 2550. การพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ โดยใช้กิจกรรมที่มีการประเมินผลตามสภาพจริงกับกิจกรรมที่มีการประเมินผล. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
12. สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. 2555. “พฤติกรรมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการใช้สถานการณ์จำลอง” วารสารสักทอง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 18 (2) : 81 – 90.
13. สุนันท์ พอดี. 2550. “สภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี,” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์. 1 (2) : 37 – 46.
14. อดิศร เทพเจริญ. 2551. สภาพการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยเน้นคุณธรรมนำความรู้ โรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มโรงเรียนปง 1 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
15. Cronbach, L.J. 1990. Essentials of psychological testing. 3rd ed. New York : Harper & Collins.
16. Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. 1970. “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. 30 (3) : 607 - 610.