การศึกษาความต้องการในการพัฒนาด้านวิชาการของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2

Main Article Content

สถิตย์ภรณ์ ถิตย์บุญครอง
สุรีย์มาศ สุขกสิ
มุทิตา แพทย์ประทุม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาด้านวิชาการของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระดับชั้นที่สอน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษ จำนวน 388 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97            สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าที (t-test)


            ผลการวิจัยพบว่า  1) ความต้องการในการพัฒนาด้านวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก  2) ความต้องการในการพัฒนาด้านวิชาการ จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน พบว่า ทางด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร ด้านภาษาและวัฒนธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานน้อย มีความต้องการพัฒนาด้านวิชาการมากกว่าครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาก  3) ความต้องการในการพัฒนา        ด้านวิชาการ จำแนกตามระดับชั้นที่สอน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยครูผู้สอน      ภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษา มีความต้องการพัฒนาด้านวิชาการมากกว่าครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่สอนชั้นประถมศึกษา      4) ความต้องการในการพัฒนาด้านวิชาการ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ     ที่ระดับ .05 โดยครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่สอนโรงเรียนขนาดใหญ่มีความต้องการพัฒนาด้านวิชาการมากกว่าครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่สอนโรงเรียนขนาดเล็ก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. 2544. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : กระทรวง.
2. กระทรวงศึกษาธิการ. 2545 ก. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.
3. กระทรวงศึกษาธิการ. 2545 ข. จากหลักสูตรสู่แผนการสอน. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ
4. กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.
5. จุฬารัตน์ เย็นสวัสดิ์. 2548. ความต้องการในการพัฒนาทางด้านวิชาการของครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครพนม. ค้นคว้าอิสระ กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
6. ณรงค์ คำภาศรี. 2550. ความต้องการพัฒนาตนเองด้านวิชาการของครูผู้สอน ในโรงเรียนที่เปิดสอนในช่วงระดับชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). สกลนคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
7. ทองย่อม สาครสูงเนิน. 2548. การศึกษาพฤติกรรมการบริหารด้านคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
8. บัญชา ธรรมไชย. (มิถุนายน - กรกฎาคม 2541). “โรงเรียน ครอบครัว ชุมชน สถาบันหลักในการจัดการศึกษา,” ข้าราชการครู. 18 (5) : 49.
9. บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
10. วันเพ็ญ คชนิล. 2546. ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
11. ศักรินทร์ สุวรรณโรจน์. (มิถุนายน-กรกฎาคม) 2542. “ครูตามแนวพระราชดำริ.” ข้าราชการครู. 19 (5) : 3 - 4.
12. สวัสดิ์ สายประเสริฐ และคณะ. 2537. คู่มือการสอบและปฏิบัติราชการ. กรุงเทพฯ : พัฒนศึกษา.
13. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. 2550. รายงานผลการประเมินความรู้ของครูผู้สอน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับมัธยมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2550. กาฬสินธุ์ : สำนักงานฯ.
14. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. 2552. รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2551 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กาฬสินธุ์ : สำนักงานฯ.
15. สำนักทดสอบทางการศึกษา. 2552. ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2551. กรุงเทพฯ : สำนักฯ.
16. สุวัฐ แก้วเมฆ. 2550. ความต้องการพัฒนาตนเองของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
17. Burk, P.J. 1987. Teacher Development. New York : The farmer Press.
18. Burk, P.J. Christensen, J.C. and Fessler, R. 1984. Teacher Career Stages : Implications for Staff Development. Bloomington : Phi Delta Kappa Education Foundation.
19. Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. March 1970. “Determining Sample Size For Research Activities,” Educational And Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.