การสร้างรูปแบบเส้นทางจักรยานโดยใช้จักรยานสำหรับท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร
กฤติยา เกิดผล
พงศธร จันทร์ตรี

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเส้นทางและสิ่งสนับสนุนที่จำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้จักรยานในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และสร้างรูปแบบเส้นทางจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี โดยการศึกษาเส้นทางคณะผู้วิจัยได้ศึกษาเส้นทาง และสถานที่สำคัญต่างๆ ในพื้นที่ตัวเมือง ซึ่งทำการสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม เพื่อศึกษาความคาดหวังของนักท่องเที่ยว โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวจำนวน 400 ราย จากนั้นนำแบบสอบถามมาตรวจสอบความถูกต้องโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามจากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ผลจากการเก็บแบบสอบถาม พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเห็นร้อยละ 63.5 มีอายุมากกว่า 41 ปี คิดเป็นร้อยละ 62.7 ประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 37 มีรายได้ต่อเดือน 20,001 บาท ถึง 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 44.5 ต้องการปั่นจักรยานเพื่อการออกกำลังกายคิดเป็นร้อยละ 21.5 ระยะทางที่ต้องการใช้ในการปั่นจักรยานคือ 9.1 กิโลเมตรขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 35.4 ระยะเวลาที่ใช้ในการปั่นจักรยานมากกว่า 1 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 34.3 ความคาดหวังที่มีต่อเส้นทางจักรยาน คือ ความปลอดภัย และความคาดหวังต่อสิ่งอำนวยความสะดวก คือ ต้องการช่องทางจักรยานที่ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.69 และ 4.53 ตามลำดับ และทำการสร้างรูปแบบเส้นทางจักรยาน จากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องของเส้นทางจักรยาน จึงได้เสนอรูปแบบเส้นทางจักรยานออกมาทั้งหมด 2 เส้น คือ เส้นทางที่ 1 เริ่มต้นจากชุมชนริมน้ำสิ้นสุดที่ชุมชนริมน้ำ ระยะทาง 11.6 กิโลเมตร และเส้นทางที่ 2 เริ่มต้นจากชุมชนริมน้ำสิ้นสุดที่ชุมชนริมน้ำ ระยะทาง 10 กิโลเมตร และในเส้นทางนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางให้แตกต่างจากเส้นทางที่ 1 เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีตัวเลือกเส้นทางที่ต้องการปั่นมากที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงมหาดไทย. (2560). การส่งเสริมให้ใช้จักรยานในการท่องเที่ยว. กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพฯ.
2. การท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบผสมผสาน. การท่องเที่ยวและกีฬา,จังหวัดจันทบุรี
3. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2555). แผนที่ตัวเมืองจันทบุรี. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สำนักงานภาคกลาง เขต 4.
4. กัณชิท มาราพรต และทักศินาฏ สมบูณ. (2559). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อการเรียนรู้ตำบลคลองเขื่อน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 11(2), 27.
5. กรมทางหลวงชนบท. (2558). คู่มือมาตรฐานการออกแบบจักรยาน. กรมทางหลวงชนบท, กรุงเทพฯ.
6. ภิรูเชษฐ์ กฤตยานุกูล และทัตเทต หนูสุข. (2558). พฤติกรรมและทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ส่งผลต่อความปลอดภัยทางถนนสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 10(1), 90.
7. วนาพรรณ ชื่นอิ่ม. (2556). ความคาดหวังและการรับรู้ของบุคลากรต่อคุณภาพการบริการ ของหน่วยสวัสดิการสุขภาพรามาธิบดี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
8. สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2557). แนวคิดการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 15(1), 51.
9. สำนักงานสถิติจันทบุรี. (2561). ข้อมูลของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี. สำนักงานสถิติจันทบุรี.