การวิเคราะห์ความอยู่รอดจากการออกกลางคันของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

อริสฬา เตหลิ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฟังก์ชันการอยู่รอด มัธยฐานระยะเวลา การอยู่รอด และอัตราเสี่ยงอันตรายของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา 2) เปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอดของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน 3) ศึกษาโมเดลของฟังก์ชันความเสี่ยงอันตรายของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี ที่เริ่มศึกษาปีการศึกษา 2557 หลักสูตร 4 ปี จำนวน 1,000 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) ซึ่งรวบรวมจากกองทะเบียนและประมวลการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การอยู่รอดในการศึกษา ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพผู้ปกครอง รายได้ผู้ปกครอง เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) และกลุ่มสาขาวิชา ผลการศึกษาพบว่า


      1. จากการวิเคราะห์ตารางชีพ (Life Table) พบว่า ช่วงเวลาที่ 3 หรือภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงสูงสุด โดยมีอัตราความเสี่ยงเท่ากับ 0.1078 และมีโอกาสอยู่รอดในการศึกษานานกว่าภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เท่ากับ 85.92% และไม่สามารถแสดงมัธยฐานระยะเวลาการอยู่รอดได้ เนื่องจากยังไม่เกิดกรณีนิสิตจำนวนครึ่งหนึ่งออกกลางคันในช่วงเวลาที่ศึกษา


       2. การเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอด โดยใช้การวิเคราะห์ Kaplan-Meier และการทดสอบโดย Log-Rank Test พบว่า ตัวแปรที่ให้ผลการเปรียบเทียบฟังก์ชันการอยู่รอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) และกลุ่มสาขาวิชา


       3. การวิเคราะห์โมเดลของฟังก์ชันความเสี่ยงต่อการออกกลางคัน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยของ Cox พบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อการออกกลางคันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศและ เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกษตร เมืองทอง. (2544). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษา สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
2. แคทลียา ทาวะรมย์. (2543). การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การอยู่รอดในการศึกษาการออกกลางคันของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ปัญจา ชูช่วย. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
4. ภูษณิศา สิริวรพร. (2557). สาเหตุของการออกกลางคันและแนวทางแก้ไขปัญหาการออกกลางคัน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของสถาบันการพลศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
5. แพรวพรรณ โสมาศรี. (2556). การศึกษาการใช้ชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
6. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ ฉบับปี 2558-2561 : แนวทางที่เป็นระบบสู่การปรับปรุงผลการดำเนินการขององค์กร. กรุงเทพฯ : สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา.
7. สิริกุล รัตนมณี, เอกวิทย์ โทปุรินทร์, สมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2561). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยการออกกลางคันนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12 (กันยายน-ธันวาคม): 124-134.
8. มหาวิทยาลัยบูรพา. (2560). รายงานประจำปี. ชลบุรีฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
9. อารี ผสานสินธุวงศ์. (2550). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ชั้นปีที่ 1. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
10. Mertler, C.A. & Vannatta, R.A. (2005). Advanced and Multivariate Statistical Methods: Practical Application and Interpretation. (3rd Ed). Glendale, CA: Pyrczak Publishing.
11. Tabachnick, B.G. & Fidell, L.S. (2007). Using Multivariate Statistics. (5th Ed). Boston: Pearson.