แนวทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วศินี ทะเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อายุราชการ สถานภาพการสมรส ตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่ และอัตราเงินเดือน และ 3) กำหนดแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างคือ คณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 355 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 7 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามระดับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 และ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA)


            ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัด 


สุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสามารถ ด้านความเสมอภาคทางโอกาส ด้านความเป็นกลางทางการเมือง และด้านความมั่นคงในอาชีพ 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ระดับการศึกษา และตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่ แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ อายุ อัตราเงินเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการบริหารงานบุคคลตามระบบคุณธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้านความสามารถ ควรส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการอบรมและพัฒนาตรงตามศักยภาพ มีการสอนงานและหมุนเวียนงาน ด้านความเสมอทางโอกาส ไม่ควรเลือกปฏิบัติและให้บริการ ด้านความมั่นคงในอาชีพ ควรกำหนดความชัดเจนถึงความเชื่อมโยงระหว่างผล การปฏิบัติงานและผลตอบแทนที่จะได้รับ และด้านความเป็นกลางทางการเมือง ผู้บริหารไม่ควรใช้ระบบเส้นสายและอำนาจทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
2. เกื้อ ขวัญทาง. (2561). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : แฮนด์เมดสติกเกอร์แอนด์ดีไซน์.
3. คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. (2557). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
4. ชลิดา ศรมณี. (2555). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
5. นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2557). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ตีรณสาร.
6. นรรธพงศ์ ใคร่เครือ. (2558). ปัญหาการบริหารงานคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดระยอง.การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
7. บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
8. ประวีณ ณ นคร. (2555). แนวทางการสร้างวินัยข้าราชการ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
9. ผดุง วุฒิเอ้ย. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจของข้าราชการทหาร สังกัดสำนักงานพัฒนาภาค 3 จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
10. พงศธร ผาสิงห์. (2552). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลของเทศบาลในจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
11. พระมหาสุเทพ สุเทวเมธี (ดีเยี่ยม). (2557). การบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
12เพชร กล้าหาญ. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
13. เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
14. วรเทพ สวัสดี. (2557). ชุดการเรียนด้วยตนเอง : หลักสูตรความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน.
15. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.
16. สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2561). แผนการดำเนินงานประจำปี. สุราษฎร์ธานี :องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี.
17. สุดา สุวรรณภิรมย์. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีมในองค์กร. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. 26 (1) : -3-4.
18. โสภณ สวยขุนทด. (2557). การบริหารงานบุคคลด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการกับสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.