ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

พรรณพนัช มีสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานจัดหางานจังหวัด    สุราษฎร์ธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานบุคลากรสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรในสังกัด สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 64 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหารและหัวหน้างาน ในสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 6 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในประสิทธิภาพมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การทำงานด้านข้อมูลที่น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การทำงานด้านใช้หลักเหตุผล ด้านความยุติธรรม ด้านกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ด้านการทำงานที่มีมาตรฐาน และด้านการให้รางวัล ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคลพบว่า บุคลากรที่มีตามเพศ อายุ กลุ่มงาน ระดับการศึกษา ฝ่ายงาน ตำแหน่ง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานจัดหางานจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ในการทำงานด้านการให้รางวัลที่มีประสิทธิภาพ ควรเพิ่มการให้รางวัลหรือให้ผลตอบแทนกับผลการทำงานของกลุ่มหรือทีมในฝ่ายงาน  ด้านใช้หลักเหตุผล ควรมีการวิเคราะห์และกำหนดปัญหาและสามารถหาทางแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ความรู้อย่างมีเหตุผล ด้านความยุติธรรม ควรมีความเสมอภาค ด้านกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ควรมีการกำหนดความคาดหวังเกี่ยวกับงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างชัดเจน ด้านข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ควรสร้างความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลขึ้นอยู่กับบริบทองค์กร ด้านการทำงานที่มีมาตรฐานควรปรับปรุงพัฒนาระบบการลงเวลาการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จินตนา พงษ์ศรีทอง. (2550). ลักษณะบุคลิกภาพที่พยากรณ์พฤติกรรมต่อต้านการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2. ณัฐวรท ผ่องสุวรรณ์. (2555). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการส่วนกลางของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
3. นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. นนทบุรี : ตีรณสาร
4. เนตรพัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นําเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : บริษัท 11 ทริปเพิ้ลกรุ๊ปจํากัด.
5. ปัทมาพร ท่อชู. (2559). บรรจุภัณฑ์การออกแบบ. อินดัสเทรียล เทคโนโลยี รีวิว (Industrial technology review). 22(281). 100-106.
6. พะยอม วงศ์สารศรี. (2551). การบริการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือพัฒนา.
7. ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กจำกัด.
8. สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพย์.
9. สมคิด บางโม. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.
10. สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2552). วิวัฒนาการทฤษฎีการจัดการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สวัสดิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
11. สำนักงานประกันสังคม. (2552). งานที่มีคุณค่าและเศรษฐกิจนอกระบบ. กรุงเทพฯ : กองวิจัยตลาดแรงงานกรมการจัดหางาน.
12. สุรพงษ์ เหมือนเผ่าพงษ์. (2550). ปัจจัยทีมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนในสถานีตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
13. อรุณ รักธรรม. (2550). การพัฒนาองค์การ. ประมวลสาระชุดวิชา ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 9-12. พิมพ์ครั้งที่ 9. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
14. อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.