แรงจูงใจของนักศึกษาในการออมเงินกับโครงการธนาคารโรงเรียน

Main Article Content

ลักขณา ธรรมสุภาพงศ์
เอมอร หวานเสนาะ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง แรงจูงใจของนักศึกษาในการออมเงินกับโครงการธนาคารโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา 2) ศึกษาแรงจูงใจและปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมเงินของนักศึกษา 3) ศึกษาผลของกิจกรรมส่งเสริมการออมเพื่อเป็นข้อมูลให้กับโครงการธนาคารโรงเรียนได้มีแนวทางในการเลือกวิธีการจูงใจหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการออมได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังเป็นแนวทางให้กับสถาบันการศึกษาอื่นหรือผู้ปกครองในการส่งเสริมการออมให้กับเยาวชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส.ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์  ปีการศึกษา 2562 จำนวน 547 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยศึกษากับกลุ่มทดลองจำนวน 150 คน การวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ามีประเด็นที่นักศึกษาเห็นด้วย ได้แก่ การที่ตนเองรู้จักธนาคารโรงเรียน  รู้วัตถุประสงค์ของการฝากเงินและชื่นชอบต่อการรับฟังข้อเสนอแนะของธนาคาร ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการออมเงินของนักศึกษาได้แก่ การที่นักศึกษาตั้งเป้าหมายในการออมเงิน ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ Otto, A. (2013) และ Cruce, A. (2002) ที่กล่าวว่าวัยรุ่นจะมีการออมเงินเพื่อวัตถุประสงค์ที่แน่ชัด                                                                                                  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ไข่มุก สิมมา, พิตตินันท์ สิทธิหนองคู, พัชรพล อนันตวงศ์ (2556). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการธนาคารโรงเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ จันทบุรี.
2. ธนญา ราช แพทยา คม. (2012). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านธนาคาร ใน โรงเรียนครอบครัวและการมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมประหยัดและเก็บออมเงินของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใน เขตกรุงเทพมหานคร (Doctoral dissertation). 3.พรภัทร อินทรวรวัฒน์ และคณะ. (2555). ปัจจัยและเงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อการออมของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต. วารสารเกษตรศาสตร์ (สาขาสังคมศาสตร์), 33, 55-66.
4. สถาบันรามจิตติและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (2549). โครงการ “สำรวจพฤติกรรมการจัดการการเงินส่วนบุคคล”.
5. สิรินทิพย์ สิทธิศักดิ์. (2555). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษา:กรณีศึกษาเขตภาษีเจริญและ
เขตบางกอกใหญ่. วารสารวิจัยรำไพพรรณีปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน-กันยายน 2555, 80.
6. Cruce, A. (2002). School-based savings programs, 1930-2002. CSD Working Paper 02-7. St. Louis: Washington University, Center for Social Development.
7. File, K. M., & Prince, R. A. (1992). Positive word-of-mouth: customer satisfaction and buyer behaviour. International Journal of Bank Marketing, 10(1), 25-29.
8. Furnham, A. (1985). Why do people save? Attitudes to, and habits of saving money in Britain. Journal of Applied Social Psychology, 15(5), 354-373.
9. Karlan, D., McConnell, M., Mullainathan, S., & Zinman, J. (2010). Getting to the top of mind: How reminders increase saving (No. w16205). National Bureau of Economic Research.
10. Loudon, David L., and Albert J. Delia Bitta (1979). Consumer Behavior: Concepts and Applications. New York: McGraw-Hill, 1979. 553 pp, Journal of Advertising, 8:4, 46.
11. Lunt, P. K., & Livingstone, S. M. (1991). Psychological, social and economic determinants of saving: Comparing recurrent and total savings. Journal of Economic Psychology, 12(4), 621-641.
12. Mullainathan, S., & Thaler, R. H. (2000). Behavioral economics (No. w7948). National Bureau of Economic
Research.
13. Otto, A. (2013). Saving in childhood and adolescence: Insights from developmental psychology. Economics of Education Review, 33, 8-18.
14. Pritchard, M. E., Myers, B. K., & Cassidy, D. J. (1989). Factors associated with adolescent saving and spending patterns. Adolescence, 24(95), 711.
15. Walters, R. H., & Parke, R. D. (1964). Social motivation, dependency, and susceptibility to social influence. In Advances in experimental social psychology (Vol. 1, pp. 231-276). Academic Press.
16. Watson, J. J. (2003). The relationship of materialism to spending tendencies, saving, and debt. Journal of economic psychology, 24(6), 723-739.