ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความพึงพอใจและผลการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรออนไลน์ในสถาบันระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

ชลธิศ ดาราวงษ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาในหลักสูตรออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับผลการเรียนของนักศึกษาในหลักสูตรออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อความพึงพอใจและผลของการเรียนของนักศึกษาในหลักสูตรออนไลน์ในระดับอุดมศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเอกชน 5 แห่ง ที่ได้เรียนในหลักสูตรออนไลน์ในการเรียนการสอนอย่างน้อย 1 รายวิชาจำนวนทั้งสิ้น 389 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์สมการเส้นถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง เรียนอยู่สาขาวิชาโลจิสติกส์ และกำลังเรียนอยู่ในชั้นปีที่ 1 ส่วนผลวิจัยด้านตัวแปรที่ศึกษา พบว่า  1) ระดับความพึงพอใจของนักศึกษาในหลักสูตรออนไลน์ในระดับอุดมศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับผลการเรียนของนักศึกษาในหลักสูตรออนไลน์ในระดับอุดมศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษา ได้แก่ ความสนุก การออกแบบ ความง่ายในการใช้งาน และประโยชน์จากการใช้งาน ส่วนปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อผลการเรียนของนักศึกษา ได้แก่ ความสนุก ประโยชน์จากการใช้งาน ความง่ายในการใช้งาน การออกแบบ และเนื้อหาบทเรียน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จินดาพร เทียมภักดี, นคร ละลอกน้ำ และฐิติชัย รักบำรุง. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 2 เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(1), 109-116.
2. จุฑารัตน์ บันดาลสิน, ปาลิดา สายรัดทอง พัฒนาพิชัย, วิภาวรรณ นำศรีเจริญกุล, สุปราณี ภู่ระหงษ์ และชัยธวัช ตนตรง. (2561). วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 8(1), 159-175.
3. พรพนา ศรีสถานนท์ และสุชาดา บุญเรือง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีออนไลน์. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(23), 257-266.
4. สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2561). ETDA เปิดพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตปี 61 คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน. ค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2561, จากhttps://www.etda.or.th/content/etda-reveals-thailand-internet-user-profile-2018.html.
5. อัญชลี วิมลศิลปะ. (2561). การขยายตัวของตลาดการเรียนรู้ออนไลน์กับสมรรถนะนักเทคโนโลยีการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(2), 370-382.
6. Al-hawari, Mohammad Ahmad, & Mouakket, Samar. (2010). The influence of technology acceptance model (tam) factors on students’ e-satisfaction and e-retention within the context of uae e-learning. Education, Business and Society: Contemporary Middle Eastern Issues, 3(4), pp. 299-314.
7. Alshare, Khaled A., & Lane, Peggy L. (2011). Predicting student-perceived learning outcomes and satisfaction in erp courses: An empirical investigation. Communications of the Association for Information Systems, 28(1), pp. 571-584.
8. Balog, Alexandru, & Pribeanu, Costin. (2010). The role of perceived enjoyment in the students’acceptance of an augmented reality teaching platform: A structural equation modelling approach. Studies in Informatics and Control, 19(3), pp. 319-330.
9. Davis, Fred D. (1986). Technology acceptance model for empirically testing new end-user information systems: Theory and results. Massachussetts Institute of Technology: MA, USA.
10. Lee, Jung-Wan. (2010). Online support service quality, online learning acceptance, and student satisfaction. Internet and Higher Education, 13(4), pp. 277-283.
11. Lee, Sang Joon, Srinivasana, Sandhy, Traila, Trudian, Lewisb, David, & Lopez, Samantha. (2011). Examining the relationship among student perception of support, course satisfaction, and learning outcomes in online learning. Internet and Higher Education, 14(3), pp. 158-163.
12. Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.
13. Shah, D. (2019). By the numbers: MOOCs in 2019. Available: https://www.classcentral.com/report/mooc-stats-2019/ (Access Date: May 10, 2020)
14. Sohn, Changsoo, & Tadisina, Suresh K. (2008). Development of e-service quality measure for internet-based financial institutions. Total Quality Management & Business Excellence, 19(9), pp. 903-918.
15. Sun, Pei-Chen, Tsai, Ray J., Finger, Glenn, Chen, Yueh-Yang, & Yeh, Dowming. (2007). What drives a successful e-learning? An empirical investigation of the critical factors influencing learner satisfaction. Computers & Education, 50(4), pp. 1183-1202.
16. Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis (3 ed.). New York, NY: Harper and Row Publications.