ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) อำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

นที ยงยุทธ
สุนิตย์ตา เย็นทั่ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยหลักที่มีผลต่อการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา กศน. อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อ กศน. อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก ครู กศน.ตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 11 คน จาก กศน.ตำบล 11 ตำบล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ตีความ นำเสนอผลการวิจัยโดยใช้วิธีการพรรณาวิเคราะห์


            พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา ประกอบด้วย 1) นักเรียนมุ่งมั่นตั้งใจและมีความรับผิดชอบ 2) ผู้ปกครองสนับสนุนและส่งเสริม 3) ครูผู้สอนดูแลเอาใจใส่และการให้คำปรึกษา 4) การเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) 5) สถานที่สอบสะดวกต่อการเดินทาง 6) ความน่าสนใจของเนื้อหาวิชาที่จัดการเรียนการสอน 7) ผู้บริหารให้การสนับสนุน และ 8) การทำใบงานและแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา กศน. อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี มี 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านความมุ่งมั่นตั้งใจและมีความรับผิดชอบของนักศึกษา 2) ปัจจัยด้านครูผู้สอนดูแลเอาใจใส่และให้คำปรึกษา และ 3) ปัจจัยด้านการสนับสนุนและส่งเสริมของผู้ปกครอง และ 3. ได้ข้อเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนต่อ กศน. อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ไว้ 5 ประการ ดังนี้ 1) การคัดกรองนักศึกษาเบื้องต้นก่อนการรับสมัครเรียน 2) ครูมีการสัมภาษณ์พูดคุยกับนักศึกษาหลังจากที่สมัครเรียนแล้วเพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษาเป็นแนวทางการจัดรูปแบบหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ต่าง ๆ 3) เพิ่มช่องทางการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ให้มากขึ้น 4) การสะสมชั่วโมงกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จำนวน 200 ชั่วโมง ครูอาจจะใช้วิธีการเสริมแรงเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาสะสมชั่วโมงกิจกรรมให้ครบทันเวลาตามที่หลักสูตรกำหนดและ 5) หลักสูตรจะต้องมีความยืดหยุ่นและหลากหลาย ควรสอดคล้องกับความต้องการ ความถนัดและความสนใจของนักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. คณะกรรมการดําเนินงานวิจัย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช.สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
2. ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์. (2552). ข้อตกลงเบื้องต้นก่อนจะเป็นนักศึกษา กศน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา :http://www.moe.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล 2 พฤษภาคม 2561).
3. ธรรมรัตน์ คงดี. (2563). กลยุทธ์การช่วยเหลือผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอาเภอเมืองตราด จังหวัดตราด. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน). หน้า 171-181.
4. ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์. (2554). การศึกษาและพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวอย่างประสบความสำเร็จด้วยการให้คำปรึกษาครอบครัวโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (จิตวิทยาการให้คำปรึกษา)บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
5. พงษ์เทพ วัฒนาวณิชย์วุฒิ. (2554). รายงานการศึกษาส่วนบุคคล เรื่อง การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการศึกษา กศน. ตำบลในภาคตะวันออก. นครปฐม : พิมพ์ลักษณ์.
ุ6. พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2550). จิตวิทยาครอบครัว. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. เพชร์ชารี สุทธิประภา. (2558). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของ กศน.ตำบล พื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
8. สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 2560. กศน.ชี้ 17 กลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษาต้องเข้าถึงบริการ กศน. อย่างมีคุณภาพ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.braille-cet.in.th/Braille-new/?q=news-7691. 14 กรกฎาคม 2560.
9. สำนักข่าวอิศรา. (2562). เปิดกรุผลสอบสตง. (19) ตรวจสำนักงาน กศน. อุดรธานี. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.isranews.org. (วันที่ค้นข้อมูล 2 มิถุนายน 2562).
10. สำนักงานเลขาสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
11. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
12. สุภางค์ จันทวานิช. (2554). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
13. Knowles M.S. (1980). The Modern Practice of Adult Education : From Pedagogy to Andragogy. New York : Cambridge. The Adult Education Company.
14. Scheerens, J., & Creemers, B. P. (1989). Conceptualizing school effectiveness. International Journal of Educational Research, 13(7), 691-706.