การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิค SQ4R กับเทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ปาริชาติ ลาภวิบูลย์กิจ
สุนิตย์ตา เย็นทั่ว
ปวริศา จรดล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R กับเทคนิค CIRC ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80, 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R,  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R กับเทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนตราษตระการคุณ จังหวัดตราด จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 80 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม  โดยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R กับเทคนิค CIRC จำนวน 7 เรื่อง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R 3) แผนการจัดการเรียนรู้ของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC, 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t - test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.29 /89.83 และชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.22/84.00  2) ผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R กับเทคนิค CIRC แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค SQ4R  สูงกว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค CIRC

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2. พนิตนาฎ ชูฤกษ์. (2551). อ่านเร็วให้เป็นจับประเด็นให้อยู่หมัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เฟริสท์ออฟเซท.
3. มะลิวัลย์ พรนิคม. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านวรรณคดีไทยโดยใช้เทคนิค IRC สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 14(65): 25-34.
4. เมขลา ลือโสภา. (2556). การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ว.มรม. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(1): 107-119.
5. วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
6. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). รายงาน สรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสอง (พ.ศ.2549 - 2553). กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
7. สำนักเลขาธิการ สภาการศึกษา. (2552). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปี ของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-2551). กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
8. สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: เทคนิคพริ้นติ้ง.
9. สุพรรณี ไกยเดช. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การอ่านเพื่อความเข้าใจและการทำงานเป็นทีม เรื่อง Love Our Environment ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ แบบ CIRC กับแบบ SQ4R. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 9 (1): 106 – 118.
10. สุวิทย์ มูลคำ. (2553). 20 วิธีการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
11. อมรรัตน์ จิตตะกาล. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.