การพัฒนาชุดกิจกรรมเก้าคำที่พ่อสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้วยเทคนิค KWL Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ปิติยามาศ หลีวัฒนาสิริกุล
สุนิตย์ตา เย็นทั่ว
ปวริศา จรดล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเก้าคําที่พ่อสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ด้วยเทคนิค KWL Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80, 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนดว้ยชุดกิจกรรมเก้าคําที่พ่อสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วย เทคนิค KWL Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมเก้าคําที่พ่อสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวัดหนองคัน (ไจ พิทยาคาร) จํานวน 30 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมเก้าคําที่พ่อสอน, 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, 3) แบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที  ผลการวิจัยพบว่า


  1. ชุดกิจกรรมเก้าคําที่พ่อสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยเทคนิค KWL Plus กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 80.70/82.44

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเก้าคําที่พ่อสอน เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .05

  3. ผลทักษะการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมเก้าคําที่พ่อสอน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง    มีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ.
3. ดวงมณี จันทร์สว่าง. (2554). การพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสือนิทานสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดรุณศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
4. ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 20) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. ปณิดา พนมวัน. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และเขียนสรุปความโดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร.
6. มะลิสา โม้งปราณีต.(2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
7. วัชระ เล่าเรียนดี. (2552). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1. (2561) รายงานผลการสอบวัดความสามารถ (National Test : NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561. จันทบุรี หน่วยศึกษานิเทศก์ จันทบุรี.
9. สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
10. สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์.
11. สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). พัฒนาทักษะการคิด...ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
12. สุวิทย์ มูลคำ. (2553). ครบเครื่องเรื่องการคิด กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์ .
13. สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
14. อิสระ ชอนบุรี. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมนิทานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
15. John Dewey. (1969). Philosophy, Education, and Reflective Thinking. In Thomas O.Buford Toward a Philosophy of Education. Pp. 180 – 183.