การสืบทอดวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมเมือง

Main Article Content

จุฑาภรณ์ อยู่ทิม
จันทร์ชลี มาพุทธ
พักตร์วิภา โพธิ์ศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้ในสังคมเมือง 2) การสืบทอดวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมเมือง  3) แนวทางการสืบทอดวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมเมือง พื้นที่ที่ศึกษา ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และนนทบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key informants)  เลือกแบบเจาะจง (purposive  sampling) และใช้เทคนิคการบอกต่อ (snowball technique)  ได้แก่ ชาวสวนผลไม้ทั่วไป จำนวน 20 คน  ชาวสวนผลไม้ที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 13 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. สภาพวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้ในสังคมเมือง จำนวนพื้นที่การทำสวนผลไม้ลดลง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่จากการทำเกษตรกรรม ไปทำธุรกิจบ้านจัดสรรแทน ส่งผลให้ชาวสวนผลไม้ลดน้อยลง สภาพครอบครัว อยู่ร่วมกัน อาศัยในชุมชนมากว่า 30 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ยึดหลักความพอเพียง ประหยัด การแต่งกายเรียบง่าย ปลูกพืชแบบผสมผสาน มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว การคมนาคมในสวนใช้เรือ มีการขุดบ่อน้ำไว้ใช้ มีความสุขในการทำสวน มีสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ผลผลิตน้อยไม่พอจำหน่าย และขาดการบริหารจัดการที่ดี

  2. 2. การสืบทอดวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมเมือง มาจาก บรรพบุรุษ ครู ภูมิปัญญา เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย มีการเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ความพร้อม จากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อและแหล่งเรียนรู้ สมาชิกครอบครัวช่วยกันทำงาน ครอบครัวอยู่ร่วมกัน มีรายได้มั่นคง มีการใช้สื่อเทคโนโลยีเข้ามาจัดการด้านตลาด และการประชาสัมพันธ์ มีการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมชุมชนน่าอยู่  มีการปลูกผลไม้ในเข่ง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม และเพิ่มมูลค่าทำให้ชาวสวนมีรายได้เพิ่มขึ้น และจำหน่ายกิ่งพันธุ์เพื่อเพิ่มรายได้

  3. 3. แนวทางการสืบทอดวิถีชีวิตของชาวสวนผลไม้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในสังคมเมือง ควรส่งเสริม 4 ด้านดังนี้

              การพัฒนาคน : ตระหนักและเห็นคุณค่า, จริงใจต่อผู้บริโภค, มีจิตบริการ, การใช้เทคโนโลยีแบบดั้งเดิมและแบบใหม่ผสมผสานกัน, การทำงานร่วมกัน, การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น, สืบทอดความรู้สู่คนรุ่นใหม่ผ่านการเรียนรู้จากครอบครัว, สถานศึกษา, สื่อ, ตามความสนใจ, และจัดอบรมความรู้และศึกษาดูงาน


              การพัฒนาสังคม : สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้, ประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านสื่อที่หลากหลาย, สร้างความน่าเชื่อถือในสินค้า, สร้างคุณค่าผลผลิต, แหล่งเรียนรู้, และอัตลักษณ์ชุมชน 


              การพัฒนาเศรษฐกิจ : สร้างรายได้เพิ่ม, สร้างมูลค่าเพิ่ม, สร้างเครือข่ายการตลาด, วิถีชีวิตพอเพียง, และปลูกพืชแบบผสมผสาน


               การพัฒนาสิ่งแวดล้อม : อนุรักษ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, อนุรักษ์พื้นที่สีเขียว, ขุดบ่อน้ำไว้ใช้, ทำปุ๋ยชีวภาพ จากวัสดุเหลือใช้, ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ความสุข, สุขภาพดี, ปลอดภัย, บริโภคผักปลอดสารพิษ, อนุรักษ์พันธุ์ส้มบางมดและทุเรียนนนท์ให้คงอยู่คู่ชุมชน, และส่งเสริมการปลูกส้มในเข่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ. (2555). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
2. ชาคริต อาชวอำรุง. (2554). การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. โชคธำรงค์ จงจอหอ. (2549). วิถีชีวิตของเกษตรกรชาวสวนส้มบางมด. รายงานการศึกษาวิชาปัญหาพิเศษ.สาขาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ, คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.
4. ทิพย์สุดา พุฒจร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
5. ฝ่ายพัฒนาสังคม กองส่งเสริมคุณภาพชีวิต. (2554). แผนปฏิบัติงานโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทุเรียนนนท์ ปี พ.ศ.2554. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี.
6. พจนา เอื้องไพบูลย์. (2546). การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: การศึกษาแบบพหุกรณี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. พรทิพย์ อันทิวโรทัย. (2545). บทบาทการศึกษาในการสืบทอดและพัฒนาทางวัฒนธรรม:กรณีศึกษาวัฒนธรรมชาวสวนฝั่งธนบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. วาสนา มานิช, พรรณปพร กองแก้ว และมงคล ปลั่งศรีนนท์ ศูนย์วิจัยและบริการเพื่อชุมชนและสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกับ สำนักงานเกษตรเขตตลิ่งชัน สำนักงานเกษตร กรุงเทพมหานคร. (2553). การจัดการเทคโนโลยีการปลูกส้มบางมดรูปแบบเกษตรสังคมเมืองอย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัย.
9. สาลินี บูรณโกศล. (2561). การส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชา การศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
10. สิทธิชัย ละมัย. (2550). เรื่อง การวิเคราะห์แนวคิดการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของศาสตราจารย์เสน่ห์จามริก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, ภาควิชานโยบายการจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). รายงานสรุปผลการประชุมประจำปี 2546 ของ สศช. เรื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สศช.
12. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2548). การประชุมสัมมนา เรื่องมองให้ไกล ไปให้ถึงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. ในแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
13. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี
14. สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
15. อาชัญญา รัตนอุบล. (2559) การเรียนรู้ของผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อเสนอท88]]วกดเสนทกสนนกฝังให้ลูกหลาน
16. Creswell, J.W. (2007).Qualitative inquiry and research design : choosing among five approaches. (2nd ed.) California: SAGE publications.
17. Russell K. Schutt. (2004). Investigating the Social World (4th ed.),USA: Sage Publications, Inc.