รูปแบบการสื่อสารที่ส่งผลต่อการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลรักษาช่องปากและฟัน ของผู้จัดฟันในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

จักรพงศ์ ตติยพันธ์
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์
สุกัญญา พยุงสิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารที่ส่งผลต่อการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลรักษาช่องปากและฟันของผู้จัดฟันในจังหวัดปทุมธานี และศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลรักษาช่องปากและฟันของผู้จัดฟันในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) การสื่อสารทางอ้อมด้านการตลาดผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต (b=.529) มีอิทธิพลต่อการรับรู้การดูแลช่องปากและฟันของผู้จัดฟันในจังหวัดปทุมธานีมากที่สุด รองลงมาคือการสื่อสารทางตรงโดยพนักงาน (b=.297) การสื่อสารทางอ้อมด้านการจัดกิจกรรมเชิงการตลาด (b=.207) และการสื่อสารทางตรงโดยทันตแพทย์ (b=.163) ตามลำดับ และการสื่อสารทางอ้อมด้านการตลาดผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต (b=.388) การสื่อสารทางอ้อมด้านการจัดกิจกรรมเชิงการตลาด (b=.388) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลช่องปากและฟันของผู้จัดฟันในจังหวัดปทุมธานีมากที่สุด รองลงมาคือ การสื่อสารทางตรงโดยทันตแพทย์ (b=.333) และการสื่อสารทางตรงโดยพนักงาน (b=.179) ตามลำดับ และ 2) การรับรู้ของผู้จัดฟันในจังหวัดปทุมธานี มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลช่องปากและฟันของผู้จัดฟันในจังหวัดปทุมธานี โดยมีความสัมพันธ์ระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กลุ่มระเบียบวิธีสถิติ สำนักนโยบายและวิชาการสถิติ. (2555). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. กรุงเทพฯ : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2556). คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย. นนทบุรี :
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
3. ชนัญชิดา คำมินเศก. (2552). การรับรู้สื่อรณรงค์ Quit Line 1600 สายเลิกบุหรี่และความคิดเห็นของข้าราชการทหารกองบัญชาการกองทัพไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
4. ณัฐกาญจน์ สุวรรณธาราม. (2557). “รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการรับรู้ คุณค่าตราสินค้า
ระหว่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตราสินค้าไทยกับตราสินค้าต่างประเทศในระบบขายตรง”. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 8(2), 41- 59.
5. นิยะนันท์ สำเภาเงิน. (2556). อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมสุขภาพและแนวทางการสื่อสารเพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของกลุ่มเสี่ยง. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. ปิยะนันท์ บุณณะโยทา. (2556). การรับรู้ และ ทัศนคติของผู้บริโภคต่อสื่อกิจกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
7. พนา ทองมีอาคม และเพ็ญพักตร์ เตียวสมบูรณ์กิจ. (2551). การสื่อสารสุขภาพ : ประโยชน์และความจำเป็นของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และการบริหารด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 12(2), 9-18.
8. วิภาวิน โมสูงเนิน. (2553). การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารประยุกต์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
9. วิลาวัณย์ จินวรรณ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
10. ศิริรัตน์ รอดแสวง. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบล
ทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
11. สมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งประเทศไทย. (2553). “ทันตกรรมการจัดฟัน”. วิทยาสารสมาคมทันตกรรมจัดฟันแห่งประเทศไทย. 9(2), 1-20.
12. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี. (2562). แบบรายชื่อคลินิกทันตกรรมในจังหวัดปทุมธานี แบ่งแยกตามอำเภอที่ตั้ง. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://203.157.108.3/pathum/.
13. หทัยรัตน์ บุณโยปัษฎัมภ์. (2561). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนา. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองการพิมพ์.
14. เหมือนฝัน ไม่สูญผล. (2557). กระบวนการสื่อสารสุขภาพในบริบทการแพทย์แผนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะนิเทศศาตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
15. อัญชลี ดุษฎีพรรณ์. (2555). การให้ทันตสุขศึกษา. เชียงใหม่ : ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
16. Lamb, W., A., Hair, F., J., & Carl, M. (1992). Principles of marketing. Cincinnati, Ohio: South-Western.
17. Shimp, T., A. (2013). Advertising, promotion and supplemental aspect of integrated marketing communications. 9th Edition. Fort Worth : The Dryden Press.