ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนเพาะเลี้ยงปลาสลิด อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อมุ่งสู่การเป็น Smart Farmer

Main Article Content

พรรณราย พูนผล
วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

       การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนของการเพาะเลี้ยงปลาสลิดรูปแบบการเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา ประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนการเพาะเลี้ยงปลาสลิด ประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนและคาดการณ์หลังการเพาะเลี้ยงแบบ Smart Farmer จากการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 165 ครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้านและใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้าเป็นสัดส่วน ผลการศึกษาพบว่า การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการเพาะเลี้ยงปลาสลิดก่อนและคาดการณ์หลังการเพาะเลี้ยงแบบ Smart Farmer พบว่าการดำเนินการเพาะเลี้ยงในปัจจุบันมีค่าผลตอบแทนทางสังคมจากการเพาะเลี้ยงปลาสลิดเท่ากับ 1.90 ต้นทุนในการเพาะเลี้ยงแบ่งออกเป็น 3 กระบวนการหลัก ได้แก่ การเตรียมบ่อ การเพาะเลี้ยง การเก็บเกี่ยว และมีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนการนำแนวทาง Smart Farmer มาประยุกต์รวมทั้งสิ้น 2.038 KgCO2eq /รอบ/ไร่การเพาะเลี้ยง และผลตอบแทนทางสังคมหลังการคาดการณ์มีค่าผลตอบแทนทางสังคมจากการเพาะเลี้ยงปลาสลิดเท่ากับ 2.43 และมีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น 1.660 KgCO2eq /รอบ/ไร่การเพาะเลี้ยง สำหรับการนำแนวทาง Smart Farmer มาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยงปลาสลิด การนำข้อมูล ความรู้ มาใช้การประกอบการตัดสินใจในแก้ไขปัญหาและพัฒนาอาชีพ เพื่อคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค การลดต้นทุนหลักจากการเพาะเลี้ยงปลาสลิด การจัดการของเหลือจากการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ  การคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการเปลี่ยนแปลงพลังงานเชื้อเพลิง จากน้ำมันดีเซลมาใช้ไบโอดีเซล บ่งชี้ได้ว่าการนำแนวทาง Smart Farmer มาประยุกต์ใช้จะสามารถเพิ่มผลตอบแทนทางสังคมสูงขึ้นร้อยละ 27.89 สามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึงร้อยละ 18.55

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกวลิน หนูฤทธิ์. สถานการณ์การผลิตปลาสลิด ปี 2560. [online] เข้าถึงได้จาก : https://www.fisheries.go.th/strategy/?name=news&file=readnews&id=450. 2560
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). แนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer. ในคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ม.ป.ท: 30-32.
3. กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง. (2558). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย. กลุ่มวิจัยและวิเคาร์สถิติการประมง กรมประมง.
4. กองนโยบายและยุทธศาตร์พัฒนาการประมง. (2558). สถิติผลผลิติการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด. กลุ่มวิจัยและวิเคาร์สถิติการประมง กรมประมง.
5. กัณฐิมา รัตนติกุล. (2530). การเปรียบเทียบต้นทุนการเพาะเลี้ยงปลาสลิดแบบดั้งเดิม และแบบสมัยใหม่. วิทยานิพนธ์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด. ม.ป.ป. เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายใต้โครงการเมืองเกษตรสีเขียว. ร้อยข่าวชาวประมง. ม.ป.ท : 4-5.
7. กองวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ. (2561). การบริหารจัดการพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำปรับปรุงพันธุ์. ม.ป.ท. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
8. จารินี ศุกระรัศมี. (2561). แนวทางการลดต้นทุนด้านพลังงานในการทำประมงหอยลาย กรณีศึกษา ชุมชนประมงในจังหวัดตราด. การค้นคว้าอิสระ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
9. เจษฎาพงศ์ สีพรหม และวิสาขา ภู่จินดา. (ม.ป.ป.) การลดก๊าซเรือนกระจกจากการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมของเกษตรกรหมู่บ้านที่ 3 หมู่บ้านที่ 4 และหมู่บ้านที่ 6 ตำบลองครักษ์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
10. ชุติระ ระบอบ พรรณราย แสงวิเชียร แววมยุรา คำสุข มรกต กำแพงเพชร ชรินพร งามกมล บรรเจิดศักดิ์ สันหภักดี ณภัทร ศรีนวล กันต์ติกมาฐ รัตนปริญญานุกูล. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดสู่ผู้ประกอบการ 4.0 The Development of Snakeskin Gourami Farmer Indicators to Enterpreneur 4.0. วารสารธุรกิจปริทัศน์. ปีที่ 10 (ฉบับที่ 1): 171-189.
11. ณัทธิยา ชำนาญค้า. (2558). การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และการกักเก็บคาร์บอนในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแบบพัฒนา. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
12. พรพิมล กาญจนวาศ และคณะ. (2556). ลักษณะสัณฐานวิทยา และความหลากหลายของปลาสลิดในประเทศไทย. การวิจัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
13. สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ. (2561). แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดสมุทรปราการ. ม.ป.พ.: สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ.
14. วิศณุพร รัตนตรัยวงศ์ และศรีจรรยา เข็มกลัด. (2557) ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของประชากรพ่อแม่พันธุ์ปลาสวาย (Pangasianodon hypophthalmus) ม.ป.พ.: กรมประมง.
15. รุ้งตะวัน สินธุ์ลือนาม. (2558). การจัดการและกลยุทธ์การแข่งขันทางการตลาดของตลาดริมน้ำวัดดอนหวายในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
16. L. N. Komariah, S. Arita, Novia, S. S. Wirawan, and M. Yazid. 2013. Emission factors of biodiesel combustion in industrial boiler: A comparison to fossil fuel. Journal of Renewable and Sustainable Energy •. ปีที่5 (September): 2-8.