ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของรัฐ ไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

เยาวภา สุระกา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของรัฐไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) กำหนดแนวทางในการส่งเสริมความสำเร็จในการนำโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของรัฐไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดและผู้นำชุมชน จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.84 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของรัฐไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านวัตถุประสงค์มาตรฐานของนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านลักษณะตัวแทนที่นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ด้านการสื่อสารระหว่างองค์การและกิจกรรมนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านความตั้งใจของผู้ปฏิบัติงาน ด้านทรัพยากรของนโยบาย และด้านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตามลำดับ 2) ผู้ตอบแบบสอบถามที่ปฏิบัติงานในสังกัดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดของรัฐไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) แนวทางในการส่งเสริมความสำเร็จในการนำโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติ คือ บุคลากรทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายโครงการจัดบุคลากรให้มีจำนวนที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามนโยบาย และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินงานเพิ่มเติม มีการประชาสัมพันธ์ สื่อสารให้ประชาชนได้รับทราบรายละเอียดของโครงการอย่างถูกต้อง กำหนดโครงสร้างบุคลากร มอบหมายหน้าที่ และลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานที่ชัดเจน ผู้บริหารในท้องถิ่นสนับสนุนการนำโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติอย่างเต็มที่ และผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติงานควรปฏิบัติงานโดยแสดงออกถึงความกระตือรือร้นและมีความตั้งใจในการนำนโยบายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติ ผู้บริหารให้ขวัญกำลังใจกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ชมเชย เพื่อสร้างแรงจูงใจการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์. (2553). การประเมินผลนโยบาย:ประสิทธิภาพประสิทธิผลและความเป็นธรรมของนโยบาย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
2. ประณยาชัย รังสี. (2556). การนำนโยบายการพัฒนาสังคมไปปฏิบัติ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
3. ประเวศ วะสี. (2554). กระบวนการนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
4. รัฐกร กลิ่นอุบล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จในการนํานโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตําบลในภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
5. ระพีพรรณ ผ่องใส. (2559). การนำนโยบายโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดไปปฏิบัติของบุคลากรและผู้นำชุมชนกรณีศึกษาตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
6. วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
7. ศิริพร เขียวไสว. (2550). การนํานโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
8. สมชัย จิตสุชน. (2558). รายงานการวิจัยความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย: แนวโน้ม นโยบาย และแนวทางขับเคลื่อนนโยบาย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
9. สำนักทะเบียนอำเภอเวียงสระ. (2560). สถิติจำนวนประชากร. สุราษฎร์ธานี: สำนักทะเบียนอำเภอเวียงสระ.
10. สํานักวิชาการ. (2557). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศไทย ด้านการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สํานักการพิมพ์สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
11. สุวัฒน์ อินทรประไพ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ กรณีศึกษาการคุ้มครองดูแลและรักษาอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว. เพชรบูรณ์: คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
12. อิทธิชัย สีดา. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหิดล.
13. Meter, Donald S. Van and Horn, Carl E. Van. (1975). “The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework,” Administration and Society.