ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสร้างความรู้ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

Main Article Content

พรรณราย เทียมทัน
พรสิริ เอี่ยมแก้ว
นิเวศน์ คำรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการสร้างความรู้ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) เปรียบเทียบทักษะการสร้างความรู้ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 4 แผน 2) แบบประเมินทักษะการสร้างความรู้ แบบรูบริคส์ จำนวน 3 ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว


ผลการวิจัย พบว่า


1.ทักษะการสร้างความรู้ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้อยู่ในระดับดี (gif.latex?\dot{\bar{X}}=2.90, SD= 0.24)


2. ทักษะการสร้างความรู้ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และการวิเคราะห์สาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
2. ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์ (1991).
3. ทิศนา แขมมณี. (2555) ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
4. ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
5. พรสิริ เอี่ยมแก้ว. (2561). รายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา 1126301 การจัดการการเรียนรู้ (มคอ.5). นครสวรรค์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. (2561). หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561). นครสวรรค์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
7. มันทนา อ่อนรัศมี, อาพันธ์ชนิต เจนจิต และ เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2559). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้เรื่องระบบต่อมไร้ท่อสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต“พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 10 (ตุลาคม – ธันวาคม): 116-124.
8. วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
9. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยแนวโน้มภาพอนาคตการศึกษาและการเรียนรู้ของไทยในปี พ.ศ. 2573. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
10. Bernie,T. and Charles, F. (2009). 21 st Century Skills: Learning for life in Our Times. San Francisco: Jossey-Bass.
11. Jensen, E. (2008). Brain-based learning: the new paradigm of teaching. California: Corwin Press.
12. Kirschner, P.A., Sweller, J. and Clark, R.E. (2010). Why Minimal Guidance During Instruction Does Not Work: An Analysis of the Failure of Constructivist, Discovery, Problem-Based, Experiential, and Inquiry-Based Teaching. Educational Psychologist. 41(2): 75-86.