การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยด้วยเทคนิค SQ4R กับเทคนิค KWL PLUS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยเทคนิค SQ4R 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริม การอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยเทคนิค KWL PLUS และ 4) เพื่อเปรียบเทียบ ผลการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยของนักเรียนที่ศึกษาด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยด้วยเทคนิค SQ4R กับ เทคนิค KWL PLUS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านค่าย จํานวน 60 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยด้วย เทคนิค SQ4R กับเทคนิค KWL PLUS 2) แบบทดสอบวัดผลการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย 3) แผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยด้วยเทคนิค SQ4R กับเทคนิค KWL PLUS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 83.83/82.44 2) ผลการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยก่อนเรียนและ หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยเทคนิค SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยเทคนิค KWL PLUS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยของนักเรียนที่ศึกษาด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย ด้วยเทคนิค SQ4R กับเทคนิค KWL PLUS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงฯ.
3. กัญญรัตน์ เวชขศาสตร์. (2557). “มโนทัศน์เรื่องนาคของชนชาติไท,” วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(1) : 1099 - 1116.
4. ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). ชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษา หน่วย 8 - 15 ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. (เอกสารประกอบการสอน). พิมพ์ครั้งที่ 20. : กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
5. ดวงจันทร์ วรคามิน. (2559). รายงาน : จากคะแนน PISA ถึงวิกฤตความสามารถในการคิดวิเคราะห์เด็กไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.knowledgefarm.in.th. (14 มกราคม 2561).
6. เดลินิวส์(2557 ก). โพลชี้นักศึกษา 30.7% เพิกเฉยเมื่อเห็นการทุจริต.(ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.dailynews.co.th/education/221936 (วันที่ค้นข้อมูล : 14 พฤศจิกายน 2563).
7. เดลินิวส์ (2557 ข ). ผู้ตรวจราชการ ศธ. ย้ำเด็กไทยคิดวิเคราะห์ต่ำจี้เขตฯล็อกเป้าเปลี่ยนการสอน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.dailynews.co.th/education/275988 (วันที่ค้นข้อมูล : 14 พฤศจิกายน 2563).
8. ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2557). พจนานุกรมภาษาในอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : สถาพรบุ๊คส์
10. พนิตนาฎ ชูฤกษ์. (2551). อ่านเร็วให้เป็น จับประเด็นให้อยู่หมัด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เฟริสท์ออฟเซท.
11. รัตนภัณฑ์ เลิศคำฟู. (2557). การใช้วิธีสอบแบบเอสคิวโฟร์อาร์ในการสอนอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การประถมศึกษา). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
12. เลิศศิริ เต็มเปี่ยม. (2554). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง ทักษะภูมิศาสตร์ด้วยการสอนโดยใช้ชุดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การสอนสังคมศึกษา). นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
13. วัชระ เล่าเรียนดี. (2552). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
14. ศศิธร สุริยวงศ์. (2556). การพัฒนาแบบฝึกหัดการอ่านจับใจความโดยใช้แผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน). ชลบุรี : บัณฑิตวิยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
15. สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
16. สุคนธ์ สินธพานนท์. (2554). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : อักษรเจริญทัศน์.
17. อภิเดช สุผา. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค KWL Plus เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การสอนภาษาไทย). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.