การมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ระดับทัศนคติ และระดับการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลด้านส่วนบุคคล ทัศนคติเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่มีผลกับการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 400 คน ใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) เพื่อใช้ทดสอบค่าความสัมพันธ์กันสำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรู้และระดับทัศนคติเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและระดับการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรีอยู่ในระดับสูง โดยระดับการมีส่วนร่วมแยกตามด้านทั้ง 4 ด้าน พบว่าอยู่ในระดับสูงทั้ง 4 ด้าน ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษา คือ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา และคณะที่ศึกษา มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยที่เพศ และทัศนคติเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details
References
2. กระทรวงพลังงาน. คู่มือโครงการลดการใช้พลังงานในภาครัฐ. [Online]. เข้าถึงจาก http://www.e-report.energy.go.th/seminar52/HandBookEUI.pdf.pdf. 2562.
3. จารินี ม้าแก้ว. (2557). การใช้พลังงานไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยราชบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
4. ดวงกลม ทศพิมพ์. (2558). ความตระหนักต่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. โครงการวิจัยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
5. ตุลาภรณ์ จีนเฮง. (2562). การมีส่วนร่วมการจัดการน้ำชลประทานเพื่อการเกษตร: กรณีศึกษา ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. โครงการวิจัยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
6. พรรณศิริ ยุติศรี. (2546). พฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักเรียนศึกษามัธยมปลายในจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
7. พิมพ์ใจ การัตน์, อัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์, และจิณณวัตร ปะโคทัง. (2557). การมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 9 (2): 21-28.
8. ศิริวรรณ์ มนขุนทด. (2551). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. โครงการวิจัยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
9. ศูนย์ข่าวพลังงาน. โซลาร์ภาคประชาชน. [Online]. เข้าถึงจาก http://www.energynewscenter.com/. 2562.
10. สุชิรา นวลกำแหง และพิศุทธิ์ บัวเปรม. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพลังงานไฟฟ้าของชุมชนจังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 1 วันที่ 10-11 สิงหาคม 2559. 382-389
11. สุวิมล แซ่กอง. (2561). การมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในกิจกรรมที่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 13(1): 61-71.
12. หทัยรัตน์ เศรษฐวนิช และภิรดา ชัยรัตน์. (2560). การมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรสำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.