แหลมฉบัง : พลวัตของการพัฒนา ผลกระทบ และข้อเสนอที่เป็นธรรม

Main Article Content

โอฬาร ถิ่นบางเตียว
สิตางศ์ เจริญวงศ์

บทคัดย่อ

พื้นที่แหลมฉบังมีพลวัตการพัฒนาสามารถแบ่งได้  4  ยุค  คือ 1. ก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม 2.ยุคเริ่มต้นการพัฒนาอุตสาหกรรม 3.ยุคการเปลี่ยนแปลงเป็นเมืองอุตสาหกรรม 4.ยุคของการเป็นเมืองอุตสาหกรรม  การพัฒนาได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนในหลายมิติทั้ง เช่น ทางด้านเศรษฐกิจที่ความมั่งคั่งกระจุกตัวอยู่ในมือคนกลุ่มน้อย  การล่มสลายของอาชีพเกษตรกรรม  ทางด้านสังคมการเมืองเกิดการผูกขาดอำนาจของกลุ่มนายทุนท้องถิ่น  เกิดการแตกตัวของชนชั้นทางสังคม    ผลทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่น  ปัญหามลพิษอากาศและทางทะเล การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ  การพัฒนาพื้นที่แหลมฉบังควรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่บนฐานของการพัฒนาที่ต้องให้ความเป็นธรรมกับชุมชน ความยั่งยืนของระบบนิเวศน์  การพัฒนาอุตสาหกรรมต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม  ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยอาศัยต้นทุนทางวัฒนธรรมชุมชน  สร้างการบูรณาการระหว่างหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นธรรมกับชุมชนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรุงเทพธุรกิจ. (2557). “332กม.เชื่อมรถไฟแหลมฉบัง-ทวาย พาไทยศูนย์กลางเศรษฐกิจ. (ออนไลน์) แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/646153 (1 ตุลาคม 2560).
2. กรุงเทพธุรกิจ.(2562).“ศักยภาพท่าเรือแหลมฉบัง”. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/841049 ( 2 ธันวาคม 2560).
3. กฤษณา วิสมิตะนันทน์, ระหัตร โรจนประดิษฐ์ และ กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒ. (2560) “การศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาพื้นที่ริมนํ้าท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือโยโกฮามา” จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 39: 152 (เมษายน-มิถุนายน)
4. กลุ่มผู้นำชุมชนแหลมฉบัง. (21 มีนาคม 2561). สัมภาษณ์.
5. กลุ่มผู้นำชุมชนอ่าวอุดม. (25 มีนาคม 2561). สัมภาษณ์
6. กลุ่มผู้อาวุโสชุมชนทุ่งสุขลา. (5 มีนาคม 2561). สัมภาษณ์.
7. กลุ่มผู้อาวุโสชุมชนแหลมฉบัง. (1 มีนาคม 2561). สัมภาษณ์.
8. กลุ่มผู้อาวุโสชุมชนอ่าวอุดม. (7 มีนาคม 2561). สัมภาษณ์.
9. การท่าเรือแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: การท่าเรือแห่งประเทศไทย.
10. การท่าเรือแห่งประเทศไทย. (2563). “การท่าเรือแห่งประเทศไทย”. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.mot.go.th/about.html?id=14. (3 กุมภาพันธ์ 2563)
11. ข่าวเศรษฐกิจ. (2552). “รายงานสถานการณ์สารเคมีรั่วไหล”, RYT9. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.ryt9.com/s/cabt/760740. (2 ธันวาคม 2552).
12. ตัวแทนผู้บริหารท่าเรือแหลมไม่ประสงค์ออกนาม). (1 มีนาคม 2563) สัมภาษณ์.
13. ไทยพับลิก้า. (2557). “นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมชี้ความบกพร่องท่าเรือแหลมฉบังกรณีสารเคมีรั่ว-เสนอทบทวนแผนฉุกเฉินและตอบโต้”, ไทยพับลิก้า.(ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://thaipublica.org/2014/07/butyl-acrylate-laemchabangport/. (2 ธันวาคม 2552).
14. ผู้จัดการออนไลน์. (2555). “เร่งหาทางออกโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3”, ผู้จัดการออนไลน์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://mgronline.com/local/detail/9550000079758. ( 5 ธันวาคม 2560).
15. ผู้นำชุมชนทุ่งสุขลา(ไม่ประสงค์ออกนาม). (12 มีนาคม 2561) สัมภาษณ์.
16. ผู้นำชุมชนแหลมฉบัง (ไม่ประสงค์ออกนาม). (12 มีนาคม 2561) สัมภาษณ์.
17. ผู้นำชุมชนอ่าวอุดม(ไม่ประสงค์ออกนาม). (12 มีนาคม 2561) สัมภาษณ์.
18. ผู้อาวุโส (ไม่ประสงค์ออกนาม). (12 มีนาคม 2561) สัมภาษณ์.
19. เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง และวลัยพร มุขสุวรรณ. (2546). รายงานฉบับสมบูรณ์ รายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) .
20. มูลนิธิบูรณะนิเวศ. (2557). “แหลมฉบังเปื้อนมลพิษ”. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.earththailand.org/th/pollution/55. (6 ธันวาคม 2560).
21. ระหัตร โรจนประดิษฐ์. (2549). นาวาสถาปัตยกรรมผังเมือง. กรุงเทพมหานคร :คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
22. สมนึก จงมีวศิน. (2556). เอกสารประกอบการบรรยายจาก”เครือข่ายคัดค้านท่าเรือฯ” สู่ “วาระเปลี่ยนตะวันออก” เปลี่ยน ME เป็ น WEกลไกการขับเคลื่อนเครือข่าย ยกระดับจาก “ประเด็น” สู่ภูมิภาค. เครือข่ายประชาชนคัดค้านการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่สามเครือข่ายเพื่อนตะวันออกวาระเปลี่ยนตะวันออก.
23. สมนึก จงมีวศิน. นักวิชาการเอ็นจีโอ. (15 มีนาคม 2561). สัมภาษณ์.
24. สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2563). “บอร์ด EEC สั่งศึกษา 3 โครงการเชื่อมแหลมฉบังกับนานาชาติเพิ่มปริมาณตู้สินค้า”, อินโฟเควสท์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.infoquest.co.th/news/2020-32a09a2bc130c3d594e5ae661806917f. (7 ธันวาคม 2560).
25. สำนักข่าวอิศรา. (2555) “คำถามจาก “ชุมชนป้องอ่าวบางละมุง-นาเกลือ”...ดุลยภาพกาพัฒนาอยู่ตรงไหน?”, ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.isaranews.org/community/comm-scoop-documentary/7000-3.html. (9 ธันวาคม 2560).
26. สำนักข่าวอิสรา. (2557). “เกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลที่ท่าเรือแหลมฉบัง เร่งอพยพประชาชน”. (ออนไลน์). แหล่งที่มา https://www.isranews.org/isranews/31331-เกิดเหตุสารเคมีรั่วไหลที่ท่าเรือแหลมฉบัง-เร่งอพยพประชาชน.html . (12 ธันวาคม 2560).
27. สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์. (2545). อุบัติภัยทางทะเล, ทะเลและทรัพยากรชายฝั่ง, สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโลกสีเขียว.
28. สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์. (2546). สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโลกสีเขียว.
29. สุภัทรา ตันเงิน. (2554). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังต่อชุมชน บ้านแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี, วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.