การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น วิชาวิทยาการคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก

Main Article Content

สมสุดา จันทเจียง
วีระพันธ์ พานิชย์
ธนะวัฒน์ วรรณประภา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อประเมินทักษะทางการคิดเชิงคำนวณที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดสุนทรพิชิตาราม จำนวนนักเรียน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น 2) แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน 3) แบบฝึกทักษะประจำหน่วยการเรียนรู้ 4) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนหลังจากเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น


ผลการศึกษาพบว่า ผลการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก พบว่า การประเมินคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.64 ,S.D.= 0.56) ผลการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น  ผลการทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 = 80.33/83.04 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ผลการศึกษาทักษะการคิดเชิงคำนวณที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่องการออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดเชิงคำนวณจากการเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น ในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.70  ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง การออกแบบหุ่นยนต์เบื้องต้น พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x} 4.53

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).
2. กัญญารัตน์ เจริญจิตร. (2555,23 กันยายน). ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gagne’eclecticism). สืบค้นจาก http://pnru3math53.blogspot.com/2012/09/124-gagnes-electicism.html
3. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2556). "วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย". การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน 5(1): 10.
4. ธวัชชัย สหพงษ์, ผลการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมตามรูปแบบ ADDIE Model ในรายวิชาการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน , วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (2020): กรกฎาคม-ธันวาคม.
5. บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร: สุวิริยา สาส์น.
6. ลัดดาวรรณ ศรีฉิม และ บัญชา สำรวยรื่น. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บด้วยโปรแกรม Google site ตามแนวทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
7. พรพงศ์ ศิริสุขเจริญพร. (2560). การพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บ วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในงานอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ.
8. García-Pe~nalvo, F. J., & Mendes, A. J., (2017). Exploring the computational thinking effects in pre-university education, Computers in Human Behavior.
9. Ugur Kale & Mete Akcaoglu & Theresa Cullen &Debbie Goh & Leah Devine & Nathan Calvert & Kara Grise. (2018). Computational What? Relating Computational Thinking to Teaching. Association for Educational Communications & Technology 2018.