การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Main Article Content

สุจิรา สาหา
สุรยุทธ ทองคำ
พนิตสุภา ธรรมประมวล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการความรู้และระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 2) เปรียบเทียบการจัดการความรู้และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน เมื่อจำแนกตามอายุ ประสบการณ์การเข้ารับการอบรม ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และประเภทบุคลากร และ 3) ศึกษาการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 154 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามประเภทบุคลากรอย่างมีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นครอนบาคเท่ากับ 0.942 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐาน F-test กรณีพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ใช้การตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการความรู้ และระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี เมื่อจำแนกตามอายุ และประสบการณ์การทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สายสนับสนุน มหาวิทยาลัย   ราชภัฏเทพสตรี มี 3 ด้าน คือ ด้านการนำไปใช้และการตรวจสอบความถูกต้อง ด้านการจัดเก็บความรู้ และด้านการแสวงหาความรู้ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถทำนายประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรได้ร้อยละ 38.8

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. (2557). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
2. ชดช้อย วัฒนะ. (2561). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องการจัดการความรู้ด้วยการถอดบทเรียน. ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “พื้นที่ความคิด สร้างสรรค์” ภาคีเครือข่ายการจัดการสุขภาพเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 6 ปี 2561. แซนด์ ดูนส์ เจ้าหลาวบีช รีสอร์ท จันทบุรี.
3. ชลดา อักษรศิริวิทยา. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายการเดินรถองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ. สารนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก.
4. ณัฐนันท์ ทาคำ และกนกพร ชัยประสิทธิ์. (2562). ความสุขในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ในเครือไทยรัฐกรุ๊ป. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 6 (มกราคม – มิถุนายน) : 76-88.
5. บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด.
6. บุญส่ง ลีละชาต. (2559). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
7. ปิรัญชนาถ เฮ่ประโคน และอารีย์ นัยพินิจ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างสวัสดิการการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข. 10 (มกราคม – มิถุนายน) : 42-58.
8. ศุภนัญญา พัฒนภักดี. (2553). การจัดการความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
9. สมจิตร์ สุวรักษ์. (2554). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
10. สมชาย นำประเสริฐชัย. (2558). การจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
11. สุรีย์พร วิสุทธากรณ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากร: กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
12. อทิต พลจันทึก. (2556). การจัดการความรู้ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลด้านการศึกษาของกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
13. อภิวัฒน์ พรหมวรรณ์. (2560). การจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อการปฺฏิบัติงานของบุคลากรในกรมส่งเสริมสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 17. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
14. อังศุมา แฝดสูงเนิน. (2560). การจัดการความรู้เกี่ยวกับจีเอฟเอ็มไอเอสที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
15. Millett, John D. (1954). Management in the Public Service: The Guest for Effective Performance. New York : McGraw – Hill.
16. Marquardt, M. J. (1996). Building the Learning Organization: A System Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York : McGraw-Hill.
17. Nonaka and Takeuchi. (2004). Hitotsubashi on Knowledge Management. Singapore : John Wiley & Sons (Asia).
18. Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. (3rd ed.). Ill : Irwin.