การสร้างรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออก

Main Article Content

พิสุทธิ์ การบุญ
จำลอง แสนเสนาะ
ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์
สุรศักดิ์ จำนงค์สาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคุณค่าของการแสดงรำสวดในสังคมไทย และเพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออก เป็นการใช้แนวทางการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary Research) โดยวิธีการผสมผสานร่วมกันระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพแนวประวัติศาสตร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพแนวชาติพันธุ์วรรณา นอกจากนี้ยังใช้วิธีวิทยาการวิจัย ด้วยการเลือกกรณีศึกษาจากตัวอย่างในเชิงคุณภาพที่มีความแตกต่างกันของคณะรำสวดในจังหวัดของภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ผลการวิจัยนี้พบว่าคุณค่าทางประวัติศาสตร์สร้างความสำคัญในแง่ของการจรรโลงจิตใจคนในสังคมให้มีศีลธรรม เกรงกลัวต่อบาป และปฏิบัติตนอยู่ในหลักศีลธรรมอันดีงาม ขณะที่ผลการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความยั่งยืนของการแสดงรำสวดในภาคตะวันออกนั้น พบว่าจะต้องอาศัยการบูรณาการปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกันรวม รวม 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดการศึกษา ปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และปัจจัยด้านการพัฒนารูปแบบการแสดงรำสวดร่วมสมัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรสรวง ดีนวลพะเนาว์. (2549). สวดคฤหัสถ์ : กรณีศึกษาคณะนายหอม ภุมรา ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
2. กลุ่มผู้อาวุโสชุมชนในจังหวัดจันทบุรี. (2564, มกราคม 15). สัมภาษณ์.
3. กิตติมา ชาญวิชัย. (2554). เพลงพื้นบ้านในจังหวัดพิษณุโลกในมิติของการสื่อสารทางวัฒนธรรม. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 6(2): 29 – 39.
4. จรรยาศิริ เดชปภา. (2564, กุมภาพันธ์ 2). รองปลัด อบต.ท่าช้าง, สัมภาษณ์.
5. ชัย เรืองศิลป์. (2517). ประวัติศาสตร์ไทยสมัย 2352 – 2453 ตอนที่ 1 ด้านสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บ้านเรืองศิลป์.
6. ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. จันทบุรี : โครงการการผลิตตำรา สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
7. นีรนุช นิรุตติศาสตร์. (2551). สวดพระมาลัย : กรณีศึกษาคณะนางรําหน้าศพ ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
8. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พ.ศ.2560. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. 11 กรกฎาคม 2560.
9. พรทิพา บุญรักษา. (2559). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแสดงพื้นบ้านไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://poppy-porntipa.blogspot.com/2016/09/blog-post_ 28.html.
10. พิสุทธิ์ การบุญ และชวัลรัตน สมนึก. (2562). การศึกษาวัฒนธรรมทางดนตรีบทเพลงรำสวดโบราณ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 21(1): 137 -145.
11. ยงยุทธ นิลโกศล. (2564, มีนาคม 3). ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ, โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง 2 จังหวัดจันทบุรี.สัมภาษณ์.
12. วิชัย เวชโอสถ. (2564, กุมภาพันธ์ 20). หัวหน้าคณะรำสวด วิชัย ราชันย์. สัมภาษณ์.
13. สุปิยา ทาปทา. (2550). เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่และการล่มสลายทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาหนังประโมทัย จังหวัดอำนาจเจริญ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
14. สุวิทย์ รัตนปัญญา. (2553). หมอลำกลอน: บริบท คุณค่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและการดำรงอยู่ในประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
15. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี. (2561). รำสวด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mculture.go.th/chanthaburi/ewt_news.php?nid=936& filename=index.
16. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2547). เพลงบอกบุญ จังหวัดตราด : กลวิธีโน้มน้าวใจและบทบาทต่อสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
17. อนุวัฒน์ บิสสุริ และขำคม พรประสิทธิ์. (2559 - 2560). รำสวดคณะครูสาคร ประจง อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 3(2): 108 – 117.