การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

อัญชลี มีบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารส่วนตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว และเพื่อทราบถึงปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้วซึ่งได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการทดสอบค่า t-test และ F-test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบ One-Way ANOVA โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5


            ผลการวิจัย พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เท่ากับ 3.51 และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมสำรวจปัญหาพัฒนาชนบท ด้านการมีส่วนร่วมติดตามปฏิบัติงาน ด้านการวางแผนการดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ และปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลด้านที่ไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ประกอบไปด้วยปัจจัยด้าน เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2538). คู่มือวิทยากรสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพมหานคร: กองราชการส่วนตำบล กรมการปกครอง.

กรมการปกครอง. (2539). การฝึกอบรมเพิ่มพูนประสิทธิภาพประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กองราชการส่วนตำบล กรมการปกครอง

กฤษณา ตั๊นวิเศษ.(2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา

โกวิทย์ พวงงาม. (2555). ธรรมมาภิบาลว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพมหานคร: มิสเตอร์ก็อปปี้

โกศัย วงศ์อนันต์นนท์.(2539). ความคิดเห็นของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล: ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดจันทบุรี.งานนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาสังคม, คณะพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จรัส สุวรรณมาลา. (2539). สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ศักยภาพและทางเลือกสู่อนาคต. กรุงเทพมหานคร. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จริญญา จันทร์ทรง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เฉลิมพล ระยับศรี. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม, คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชนม์ปกรณ์ เพ็งศิริ. (2554). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

พระมหาปิยะบุตร ปญฺญาวฑฺฒโน (วงศ์กันทราภัย). (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

มาลี เบ็ญจะมโน. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยกะปิ

อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยบูรพา.