แนวทางการพัฒนากีฬาฟันดาบเพื่อความเป็นเลิศของชมรมกีฬาฟันดาบ ในสังกัดสมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางการพัฒนากีฬาฟันดาบเพื่อความเป็นเลิศของชมรมกีฬาฟันดาบ ในสังกัดสมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากีฬาฟันดาบเพื่อความเป็นเลิศของชมรมกีฬาฟันดาบ ในสังกัดสมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ กรรมการบริหารสมาคมฟันดาบแห่งประเทศไทย จำนวน 19 คน และผู้ฝึกสอนกีฬาฟันดาบที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมกีฬา ฟันดาบแห่งประเทศไทย จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น 139 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured interview) กลุ่มตัวอย่างงานวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กรรมการบริหารสมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทย จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ 2 ผู้ฝึกสอนชมรมกีฬาฟันดาบที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันและเคยได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันกีฬาฟันดาบระดับชาติ จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ (Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูล จากการบันทึกเทปที่ได้จากการสัมภาษณ์เพื่อยกร่างแนวทางการพัฒนากีฬาฟันดาบเพื่อความเป็นเลิศ และยืนยันแนวทางที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบข้อมูลความถูกต้อง และความสอดคล้องของข้อมูลจากการตีความของผู้วิจัย ด้วยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (triangulation)
ผลการวิจัยพบว่า
แนวทางการพัฒนากีฬาฟันดาบเพื่อความเป็นเลิศของชมรมกีฬาฟันดาบ ในสังกัดสมาคมกีฬาฟันดาบ แห่งประเทศไทย มีแนวทางในการดำเนินงานเพื่อความเป็นเลิศไว้ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านองค์กร ชมรมต้องดำเนินการจัดทำโครงสร้าง กำหนดวิสัยทัศน์ และนโยบายในการพัฒนาชมรม (2) ด้านบุคลากรกีฬา ชมรมต้องดำเนินการจัดหาบุคลากรในการบริหารจัดการเพื่อเป็นหน่วยสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และการจัดหาบุคลากรในการการฝึกซ้อมกีฬา เพื่อพัฒนาทักษะ เทคนิคต่าง ๆ ให้กับนักกีฬารวมทั้งการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น (3) ด้านสนามและเครื่องอำนวยความสะดวก/อุปกรณ์กีฬา ชมรมต้องดำเนินการจัดหาอุปกรณ์ประจำชมรม ประกอบ ด้วยเครื่องตัดสินไฟฟ้า สนามฝึกซ้อมฟันดาบ และการจัดหาอุปกรณ์ประจำตัวนักกีฬา ประกอบด้วย ดาบประจำตัวนักกีฬา ชุดฟันดาบ เสื้อเกราะ เสื้อไฟฟ้า ถุงมือ ถุงเท้า (4) ด้านการดำเนินการ ชมรมต้องดำเนินการฝึกซ้อม โดยมีแผนการฝึกซ้อมระยะสั้นและแผนการฝึกซ้อมระยะยาว ตลอดจนแผนการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันที่มีความเหมาะสมระหว่างรายการแข่งขันกับนักกีฬาแต่ละคน (5) ด้านผลสัมฤทธิ์ของความเป็นเลิศด้านกีฬา ชมรมต้องมีระบบการประเมินตนเอง (Self-Assessment) จากการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย แผนงานต่าง ๆ ที่กำหนดเป็นตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของชมรม เพื่อสะท้อนคุณภาพและความสำเร็จของความเป็นเลิศในกีฬาฟันดาบของชมรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร:
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร:
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จุฑา ติงศภัทิย์. (2540). การศึกษาตัวบ่งชี้การพัฒนาการกีฬาของไทย : การพัฒนาการกีฬาเพื่ออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย. (2540). การศึกษาตัวบ่งชี้การพัฒนากีฬาของไทย การพัฒนาเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บงกช จันทร์สุขวงค์. (2562). รูปแบบการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ไพฑูรย์ กันสิงห์. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการกีฬาเพื่อมวลชลในมหาวิทยาลัย. ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
รชต สุทธิจิตตกุล. (2559). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสมาคมกีฬามวยปล้ำแห่งประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี.
ศราวุฒิ อารีราษฎร. (2561). แนวทางการจัดการส่งเสริมกีฬาทางน้ำสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทย. (2550). หลักสูตรผู้ฝึกสอนกีฬาฟันดาบระดับชาติขั้นสูง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ดอกเบี้ย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อิสรีย์ ศุภเลิศจารุภัทร์. (2561). ความต้องการในการพัฒนากีฬาฟันดาบเพื่อความเป็นเลิศของชมรมฟันดาบสังกัดสมาคมกีฬาฟันดาบแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
W. E. Deming (1986). Out of the Crisis. MIT Center for Advanced Engineering Study.
N. Gresham-Fiegel, C., House, P., and Zupan, M. (2012). The effect of Non-Leading Foot Placement on Power and Velocity in the Fencing Lunge. (Vol.27).
A. Turner. and others. (2016). Physical Characteristics Underpinning Lunging and Change of Direction Speed in Fencing. J Strength Cond Res, 30 (8), 2235-2241
C. Worley, and A., Feyerherm, (2003). Reflections on the future of OD. Journal of Applied Behavioral Science, 39.