การศึกษาแนวคิดต่อผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนและการวิจัยตลาด ของผลิตภัณฑ์ใหม่จากเปลือกทุเรียน

Main Article Content

บุษรา บรรจงการ
ยุทธนา พรรคอนันต์

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่องการศึกษาแนวคิดต่อผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนและการวิจัยตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่จากเปลือกทุเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนของผู้บริโภคและคนกลางทางการตลาด    (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนของผู้บริโภคและคนกลางทางการตลาด (3) ศึกษาความคิดเห็นและการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่จากเปลือกทุเรียน โดยแยกการศึกษาออกเป็น 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ  1) เครื่องใช้สอยและบรรจุภัณฑ์ 2) ถ่านอัดแท่ง 3) น้ำมังคุด 4) แยมสละและแยมระกำ และ 5) อาหารสัตว์น้ำ แบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 รอบ คือ รอบที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียน รอบที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นและการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่จากเปลือกทุเรียน แต่ละรอบของการศึกษา กำหนดตัวอย่างที่ศึกษาต่อ 1 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) ประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผู้เคยใช้ผลิตภัณฑ์ 100 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม และ 2) คนกลางทางการตลาด 3 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ สถิติร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย () ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนมีความแตกต่างตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหารแนวคิดจะมุ่งเน้นไปเรื่องของประโยชน์ การใช้งานและความคุ้มค่าของราคา ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหาร แนวคิดจะมุ่งเรื่องรสชาติ สีสัน คุณค่าโภชนาการและความสวยงามของบรรจุภัณฑ์ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับและตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียน ได้แก่ ความแปลกใหม่ในการออกแบบ คุ้มค่าราคาถูก ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือและคุณประโยชน์ที่มากกว่าเดิม (3) ความคิดเห็นและการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่จากเปลือกทุเรียน ในภาพรวมการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่จากเปลือกทุเรียนอยู่ในระดับมาก โดยเสนอแนะให้เครื่องใช้สอยและบรรจุภัณฑ์ปรับปรุงเรื่องความแข็งแรง ถ่านอัดแท่งต้องลดขนาดแท่งและน้ำหนัก น้ำมังคุดต้องปรับสีสัน ลดปริมาณบรรจุต่อหน่วยและลดราคา แยมผลไม้ต้องปรับปรุงบรรจุภัณฑ์และสีสันของเนื้อแยม อาหารสัตว์น้ำต้องปรับขนาดของเม็ดให้เล็กลงและควรทำเป็นเม็ดกลมลอยน้ำได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2563, 8 มกราคม). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร.

ชัชชล ทะสะระ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่ ฉบับปรับปรุงปี 2546. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสาร จำกัด.

โศรดา วัลภา และคนอื่น ๆ. (2552). ผลของการเสริมเส้นใยอาหารจากเปลือกทุเรียนต่อคุณภาพของขนมปังขาว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ฉบับพิเศษ. 40 (กันยายน-ธันวาคม): 205–208.

สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี. (2563). ข้อมูลสรุปจังหวัดจันทบุรี 2563. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.chanthaburi.go.th/files/com_news_devpro1/2020-08_de2734f4ed8e5dc.pdf. 20 เมษายน 2563.

อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน. (2564). การศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์น้ำพริกเผาลำไยเพื่อพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำพริกเผาผลไม้ตามฤดูกาลบ้านเวียงสวรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 10 (มกราคม – มิถุนายน): 154-165.

อภิรพร รุ่งเรือง และทักษญา สง่าโยธิน. (2559). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ข้าวเกรียบรสต้มยำทะเล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงบ้านช้างข้าม จังหวัดจันทบุรี.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิรัติ โสฬศ และคนอื่นๆ. (2563). ผลของการทดแทนแป้งข้าวเหนียวด้วยเปลือกทุเรียนผงต่อคุณภาพของแป้งปั้น. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 38 (มกราคม-เมษายน): 1-7.

Kotler, Philip and Armstrong. (2008). Principle of Marketing : Pearson International Edition. 12nd ed. New Jersey : Printice Hall, Inc.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : An introductory analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row.