การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตาม แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต้นแบบบ้านคลองอาราง จังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

นงนุช ศรีสุข
เบญญาดา กระจ่างแจ้ง

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านคลองอาราง จังหวัดสระแก้ว การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาเฉพาะกรณี เลือกศึกษาบ้านคลองอาราง จังหวัดสระแก้ว ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสร้างข้อสรุปจากวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนต้นแบบบ้านคลองอารางน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งโดยใช้ธรรมนูญสุขภาพหมูบ้านคลองอาราง เป็นธรรมนูญที่ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้เท่าทันสิ่งต่าง ๆ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ 2 เงื่อนไขพื้นฐาน คือ การมีความรอบรู้ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการดำเนินการ ซึ่งนำมาซึ่งความสำเร็จของหมูบ้านคลองอาราง คือ การดึงจุดเดน จุดแข็ง นั่นคือ วิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนมาเป็นแนวทางในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง 


            การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง พบว่า ชุมชนต้นแบบบ้านคลอง
อารางได้มีการดำเนินการในด้านการเพิ่มศักยภาพขององค์กรชุมชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วม การจัดการความรู้และการเรียนรู้ของคนในชุมชน โดยชุมชนคลองอารางจึงถือว่าเป็นชุมชนต้นแบบไตรภาคี ได้แก่ องค์กรชุมชน องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคีสนับสนุนสามารถพัฒนาโดยใช้แนวทาง“ธรรมนูญสุขภาพ” เข้ามาเป็นเครื่องมือในการแกไขปัญหาจนเกิดเป็นรูปธรรมได้ ข้อค้นพบที่สำคัญคือ 1. ชุมชนมีกลไกคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนสามารถนำพาหมู่บ้านที่มีปัญหาไปสู่หมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง 2. การมีส่วนร่วมจากทุกหลังคาเรือนทุกกลุ่มวัยที่ชัดเจน 3. การมีกระบวนการที่ชุมชนที่สามารถสร้างปรากฏการณ์ชุมชนเข้มแข็งได้ด้วยความสามารถในการพึ่งตนเอง 4. ชุมชนต้นแบบบ้านคลองอารางมีผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นชัดเจน และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด 5. การมีบทเรียนที่สามารถขยายผลไปยังชุมชนอื่นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าชุมชนต้นแบบบ้านคลองอารางสามารถขยายบทเรียนทั้งในชุมชนและยังเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับชุมชนต่าง ๆ โดยที่สำคัญคือ มีการนำไปขยายผลเพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่อยู่เสมอ จุดเด่นสำคัญที่นำธรรมนูญสุขภาพมาใช้ คือ กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ในการคิด การตัดสินใจ และการกำหนด “ข้อตกลงร่วมกัน”แก้ไขปัญหา สร้างและปรับสมดุลใหม่ในวิถีชุมชนอย่างยั่งยืนบนกระแสของความเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มพัฒนากรอบแนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. (2546). กรอบ แนวคิดทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร.

จันทนา อินทฉิม. (2555). การจัดการชุมชนเข้มแข็ง ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. หน้า 119-158. วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

นภาภรณ์ หะวานนท์, เพ็ญสิริ จีระเดชากุล และสุรวุฒิ ปัดไธสง.(2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็ง ของชุมชน, กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วิทยา จันทร์แดง. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วิรัช นิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โฟรเพซ.

สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2544). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2553). ประมวลคำในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พุทธศักราช 2493-2549 ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.

สุภางค์ จันทวานิช และวรรณี ไทยนันท์. (2539). แนวคิดและเครื่องชี้วัดการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตและสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.